ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
“คนยุคนี้ คิดคำนวณ…มากกว่าคิดคำนึง”
ความตอนหนึ่งที่อาจารย์พิษณุ ศุภนิมิต กล่าวไว้ในงานเขียน
และมีผู้เห็นคล้อยตามว่า “มันคือความจริงที่น่าใจหาย”
ประมาณว่าการกดปุ่ม คือ การคาดหวังและคิดคำนวณว่า จะต้อง “ได้” อะไรตามมาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น ได้ชนะคู่แข่งในเกมคอมพิวเตอร์ ได้เงินจากตู้สี่เหลี่ยม ได้หนีจากช่องทีวี
ได้ติดต่อผู้คนทั่วโลกด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ความตอนหนึ่งที่อาจารย์พิษณุ ศุภนิมิต กล่าวไว้ในงานเขียน
และมีผู้เห็นคล้อยตามว่า “มันคือความจริงที่น่าใจหาย”
ประมาณว่าการกดปุ่ม คือ การคาดหวังและคิดคำนวณว่า จะต้อง “ได้” อะไรตามมาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น ได้ชนะคู่แข่งในเกมคอมพิวเตอร์ ได้เงินจากตู้สี่เหลี่ยม ได้หนีจากช่องทีวี
ได้ติดต่อผู้คนทั่วโลกด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ดิฉันมิอาจคาดเดาเวลา “ความ” ของอาจารย์พิษณุได้โดยตรง
แต่ข้อเขียนถึงของคุณธีรภาพ โลหิตกุล ผู้คล้อยตาม จากหนังสือ “มหัศจรรย์สุวรรณภูมิ” ระบุปี 2543
ในฐานะผู้อ่านต่อ ดิฉันคล้อยตามคิดเห็นของทั้ง 2 ท่าน อย่างยากที่จะปฏิเสธคิดที่ล่วงมาอย่างน้อย 14 ปี
แต่ข้อเขียนถึงของคุณธีรภาพ โลหิตกุล ผู้คล้อยตาม จากหนังสือ “มหัศจรรย์สุวรรณภูมิ” ระบุปี 2543
ในฐานะผู้อ่านต่อ ดิฉันคล้อยตามคิดเห็นของทั้ง 2 ท่าน อย่างยากที่จะปฏิเสธคิดที่ล่วงมาอย่างน้อย 14 ปี
ณ เวลาปัจจุบัน ที่ปุ่มกดแบบเดิมๆ หลายชนิด พัฒนาสู่การสัมผัสในหลากอุปกรณ์
ท่ามกลางถาโถมของกระแส Social network ที่มักพบว่ามากกว่า 5 ใน 10 ของผู้คน
ที่กำลังหายใจอยู่ในรัศมีวงล้อมออกซิเจนเดียวกัน ต่างมุ่งมั่นก้มหน้าก้มตา
เลื่อนจอไปมา จิ้มๆ กดๆ เจ้าวัตถุสมัยนิยมยุคใหม่…ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง
ประหนึ่งแวดล้อมรอบข้างกายมีเพียงอากาศธาตุไร้สัญญาณชีพ
ท่ามกลางถาโถมของกระแส Social network ที่มักพบว่ามากกว่า 5 ใน 10 ของผู้คน
ที่กำลังหายใจอยู่ในรัศมีวงล้อมออกซิเจนเดียวกัน ต่างมุ่งมั่นก้มหน้าก้มตา
เลื่อนจอไปมา จิ้มๆ กดๆ เจ้าวัตถุสมัยนิยมยุคใหม่…ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง
ประหนึ่งแวดล้อมรอบข้างกายมีเพียงอากาศธาตุไร้สัญญาณชีพ
ระหว่างการรอเรียกตัวเข้าพบแพทย์
เด็กน้อยเพียรจิ้ม ลาก ปล่อย เพื่อต่อแขนขา ใส่หมวก พันผ้า ให้เจ้าสโนว์แมนบนหน้าจออุปกรณ์
มินำพาแม้จะมีเด็กน้อยแปลกหน้าผู้อ่อนวัยกว่า พยายามเดินเข้าหายื่นหน้าตาอยากพูดคุย
เด็กน้อยเพียรจิ้ม ลาก ปล่อย เพื่อต่อแขนขา ใส่หมวก พันผ้า ให้เจ้าสโนว์แมนบนหน้าจออุปกรณ์
มินำพาแม้จะมีเด็กน้อยแปลกหน้าผู้อ่อนวัยกว่า พยายามเดินเข้าหายื่นหน้าตาอยากพูดคุย
ระหว่างระยะทางสั้นบ้าง ยาวบ้างบนรถโดยสาร
ระหว่างปริมาณคิวสั้นบ้าง ยาวบ้างขณะรอรับบริการ
ไม่เว้นแม้เมื่อรวมหมู่คณะสังสรรค์ดื่ม-กิน
ชาย – หญิงหลากวัย เพียรจิ้มบ้าง เลื่อนบ้าง พูดคุยทางปลายนิ้วบ้าง
บ้างก็ยิ้มหัวเพียงลำพัง บ้างก็มีสีหน้าเคร่งเคียด บ้างก็เพียรอ่าน บ้างก็เพียรดู บ้างก็เพียรฟัง ฯลฯ
ต่างคนต่างมีจุดมุ่งหมายของการ “ได้” แตกต่างกัน จากมายาเสมือนตรงหน้า
จนบางครั้ง หรือ หลายๆ ครั้ง หลงลืมสิ่งที่สูญเสียไปในโลกแห่งความจริงที่ต้องดำรง
ระหว่างปริมาณคิวสั้นบ้าง ยาวบ้างขณะรอรับบริการ
ไม่เว้นแม้เมื่อรวมหมู่คณะสังสรรค์ดื่ม-กิน
ชาย – หญิงหลากวัย เพียรจิ้มบ้าง เลื่อนบ้าง พูดคุยทางปลายนิ้วบ้าง
บ้างก็ยิ้มหัวเพียงลำพัง บ้างก็มีสีหน้าเคร่งเคียด บ้างก็เพียรอ่าน บ้างก็เพียรดู บ้างก็เพียรฟัง ฯลฯ
ต่างคนต่างมีจุดมุ่งหมายของการ “ได้” แตกต่างกัน จากมายาเสมือนตรงหน้า
จนบางครั้ง หรือ หลายๆ ครั้ง หลงลืมสิ่งที่สูญเสียไปในโลกแห่งความจริงที่ต้องดำรง
เด็กน้อยสูญเสียการเรียนรู้ ละเลยความสนใจต่อสิ่งรอบกาย การเล่นซนตามวัยธรรมชาติหดหาย
ครอบครัวสูญเสียการพูดคุย หยอกล้อ กิจกรรมร่วมตามประสาครอบครัวดูเป็นส่วนเกิน
การรับประทานอาหารเย็นนอกบ้านบ่อยครั้ง จึงพบเห็นภาพ พ่อ แม่ ลูก ต่างก้มหน้าจดจ่อหน้าจอของตน
ประหนึ่งการรอคอยอาหารหนึ่งมื้อช่างเป็นการสูญเสียเวลาการสังสรรค์
เวลาความบันเทิงในสังคมเสมือนตรงหน้าเสียเหลือเกิน
ครอบครัวสูญเสียการพูดคุย หยอกล้อ กิจกรรมร่วมตามประสาครอบครัวดูเป็นส่วนเกิน
การรับประทานอาหารเย็นนอกบ้านบ่อยครั้ง จึงพบเห็นภาพ พ่อ แม่ ลูก ต่างก้มหน้าจดจ่อหน้าจอของตน
ประหนึ่งการรอคอยอาหารหนึ่งมื้อช่างเป็นการสูญเสียเวลาการสังสรรค์
เวลาความบันเทิงในสังคมเสมือนตรงหน้าเสียเหลือเกิน
ภาพประกอบจาก anusornkob.blogspot.com
“สังคมก้มหน้า”
ใครนะ ช่างบัญญัติคำใช้ได้บาดลึกยุคสมัย
ใครนะ ช่างบัญญัติคำใช้ได้บาดลึกยุคสมัย
คุณอนุศร หงษ์ขุนทด บล๊อกเกอร์ท่านหนึ่ง ได้กล่าวถึง
สังคมก้มหน้า หรือ Social Ignoreism ซึ่งเขายืมคำย่อมาจากเพื่อนชาวต่างชาติว่า SI ลิซึ่ม
และได้นิยามอาการของกลุ่มเสพติดนี้ ไว้ในบทความ สังคมก้มหน้า (Social Ignore) ว่า
“คือคนกลุ่มที่เป็นบุคคลประเภทเสพติดข่าวสารหรือเทคโนโลยี ว่างไม่เกิน 5นาที
จะต้องหยิบSmart Phone หรือ Tablet ออกมากดๆ จิ้มๆ
โดยไม่สนใจคนรอบข้าง นอกจากอุปกรณ์ของตนเองตลอดเวลา”
สังคมก้มหน้า หรือ Social Ignoreism ซึ่งเขายืมคำย่อมาจากเพื่อนชาวต่างชาติว่า SI ลิซึ่ม
และได้นิยามอาการของกลุ่มเสพติดนี้ ไว้ในบทความ สังคมก้มหน้า (Social Ignore) ว่า
“คือคนกลุ่มที่เป็นบุคคลประเภทเสพติดข่าวสารหรือเทคโนโลยี ว่างไม่เกิน 5นาที
จะต้องหยิบSmart Phone หรือ Tablet ออกมากดๆ จิ้มๆ
โดยไม่สนใจคนรอบข้าง นอกจากอุปกรณ์ของตนเองตลอดเวลา”
ภาพประกอบจาก http://www.posttoday.com
สถิติการใช้งาน Social network ของคนไทย จาก Zocial Rank
เว็บไซต์เก็บข้อมูลสถิติเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
ระบุในช่วงปี 2012-2013 ประเทศไทยมีจำนวนประชากร 66 ล้านคน
มีผู้ใช้ Internet 25 ล้านคน ในจำนวนนี้ใช้ Social network 18 ล้านคน
Social network ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Facebook มีผู้ใช้ 85% โพสต์ข้อความ 31 ล้านโพสต์
ลำดับถัดมา คือ Twitter 10% โดยมี 5 ล้าน Tweet ต่อวัน
และ Instagram 5% มีการโพสต์รูป 124,000 รูปต่อวัน
เว็บไซต์เก็บข้อมูลสถิติเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
ระบุในช่วงปี 2012-2013 ประเทศไทยมีจำนวนประชากร 66 ล้านคน
มีผู้ใช้ Internet 25 ล้านคน ในจำนวนนี้ใช้ Social network 18 ล้านคน
Social network ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Facebook มีผู้ใช้ 85% โพสต์ข้อความ 31 ล้านโพสต์
ลำดับถัดมา คือ Twitter 10% โดยมี 5 ล้าน Tweet ต่อวัน
และ Instagram 5% มีการโพสต์รูป 124,000 รูปต่อวัน
ตัวเลขสถิตินี้เฉลี่ยคร่าวๆ คือ คนไทยใช้ Internet มากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนประชากร
ในจำนวนนั้นใช้ Social network มากถึง 2 ใน 3 โดยมีช่องทางเข้าถึงที่สำคัญ คือ
ผ่านโทรศัพท์และอุปกรณ์เคลื่อนที่มากถึง 64% ในขณะที่ใช้จากคอมพิวเตอร์ 36%
ในจำนวนนั้นใช้ Social network มากถึง 2 ใน 3 โดยมีช่องทางเข้าถึงที่สำคัญ คือ
ผ่านโทรศัพท์และอุปกรณ์เคลื่อนที่มากถึง 64% ในขณะที่ใช้จากคอมพิวเตอร์ 36%
ในขณะที่ตัวเลขสถิติการเสพติด Social Network จาก Comscore
ซึ่งเป็นตัวเลขเก่าเมื่อพฤศจิกายน 2012 แต่ก็คงน่าสนใจ
มีผลสรุปการใช้เวลาในการเล่นของคนทั่วโลกเฉลี่ย 5.2 ชั่วโมง
ประเทศที่ติดอันดับ 1 ใช้เวลาสูงสุด 9.8 ชั่วโมง คือ อาร์เจนตินา
ตามด้วยบราซิล ใช้เวลาเฉลี่ย 9.7 ชั่วโมง และอันดับ 3 รัสเซีย ใช้เวลาเฉลี่ย 9.6 ชั่วโมง
ส่วนพี่ไทยของเราก็หาได้น้อยหน้า เราถูกจัดอยู่ในอันดับ 4 ด้วยเวลาเฉลี่ย 8.7 ชั่วโมง
เกินจากเวลาเฉลี่ยไปถึง 3.5 ชั่วโมง คิดง่ายคือ ½ เวลาทำงานต่อวัน
เห็นตัวเลขเหล่านี้แล้วจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะมีใครสักคนนิยามสังคมไทยในยุคนี้ดังชื่อบทความ
ซึ่งเป็นตัวเลขเก่าเมื่อพฤศจิกายน 2012 แต่ก็คงน่าสนใจ
มีผลสรุปการใช้เวลาในการเล่นของคนทั่วโลกเฉลี่ย 5.2 ชั่วโมง
ประเทศที่ติดอันดับ 1 ใช้เวลาสูงสุด 9.8 ชั่วโมง คือ อาร์เจนตินา
ตามด้วยบราซิล ใช้เวลาเฉลี่ย 9.7 ชั่วโมง และอันดับ 3 รัสเซีย ใช้เวลาเฉลี่ย 9.6 ชั่วโมง
ส่วนพี่ไทยของเราก็หาได้น้อยหน้า เราถูกจัดอยู่ในอันดับ 4 ด้วยเวลาเฉลี่ย 8.7 ชั่วโมง
เกินจากเวลาเฉลี่ยไปถึง 3.5 ชั่วโมง คิดง่ายคือ ½ เวลาทำงานต่อวัน
เห็นตัวเลขเหล่านี้แล้วจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะมีใครสักคนนิยามสังคมไทยในยุคนี้ดังชื่อบทความ
แล้วคุณล่ะ เข้าขั้นเสพติด Social Network หรือไม่ ลองตรวจสอบอาการเหล่านี้ดู
1. ปี๊บเมื่อไหร่ เป็นต้องเปิด
2. ช่างไลค์ช่างเลิฟ ถูกใจไปโม๊ดดดด
3. เจออะรั๊ยย อะไรก็แชร์ไว้ก่อนอาเตียสอนไว้ หุหุ
4. ไปไหนไหน ต้องเช็คอินประกาศให้โลกรู้
5. ดูโทรศัพท์ทุก 5-10 นาที เดี๋ยวพลาดความเคลื่อนไหวในโซเชียล
6. โพสต์แล้วต้องตามติดเรทติ้ง ใครมาไลค์ ใครมาเมนต์
7. เจ้าบทเจ้ากลอน เห็นคำคม ประโยคซึ้ง ต้องแชร์&โพสต์
8. อยู่ที่ไหน จะกินอะไร ต้องแช๊ะ-แชร์-ชิม
9. ทุกเช้า-ค่ำ ต้อง say hi & good bye กับชาวโลกออนไลน์
10.อยากเจอตัวเป็นๆ ยากเย็นกว่าในแชตออนไลน์ ตอบโต้ไวกว่าโทรศัพท์เสียอีก
2. ช่างไลค์ช่างเลิฟ ถูกใจไปโม๊ดดดด
3. เจออะรั๊ยย อะไรก็แชร์ไว้ก่อนอาเตียสอนไว้ หุหุ
4. ไปไหนไหน ต้องเช็คอินประกาศให้โลกรู้
5. ดูโทรศัพท์ทุก 5-10 นาที เดี๋ยวพลาดความเคลื่อนไหวในโซเชียล
6. โพสต์แล้วต้องตามติดเรทติ้ง ใครมาไลค์ ใครมาเมนต์
7. เจ้าบทเจ้ากลอน เห็นคำคม ประโยคซึ้ง ต้องแชร์&โพสต์
8. อยู่ที่ไหน จะกินอะไร ต้องแช๊ะ-แชร์-ชิม
9. ทุกเช้า-ค่ำ ต้อง say hi & good bye กับชาวโลกออนไลน์
10.อยากเจอตัวเป็นๆ ยากเย็นกว่าในแชตออนไลน์ ตอบโต้ไวกว่าโทรศัพท์เสียอีก
เป็นอย่างไรคะ อ่านมาจนครบ
ถ้าไม่ใช่ก็ใกล้เคียงทั้ง 10 อาการนี่ นับว่าขั้นเทพเบยยย นะเจ้าคะ ^^
ถ้าไม่ใช่ก็ใกล้เคียงทั้ง 10 อาการนี่ นับว่าขั้นเทพเบยยย นะเจ้าคะ ^^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น