วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ก้าวเดินของห้องสมุด ในยุค “สังคมก้มหน้า″

ก้าวเดินของห้องสมุด ในยุค “สังคมก้มหน้า″


smartphone“สังคมก้มหน้า” ในโลกออนไลน์เป็นศัพท์ที่คุ้นหูกับทุกคนเป็นอย่างดี และปฏิเสธไม่ได้ว่ามีทั้งผลดีและผลเสียกับพฤติกรรมในสังคมโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกัน กล่าวคือ พฤติกรรมของคนในสังคมที่มีความหมกมุ่นอยู่กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถใช้ประโยชน์ให้กับเราได้ดี เช่น ใช้ทำงาน สืบค้นข้อมูล โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป เป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ส่งได้ทั้งภาพและเสียงแบบปัจจุบันทันที ประเภทของผู้ที่ใช้งานมีทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและหนุ่มสาวที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมและอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวเสมือนเกิดมาเพื่อสิ่งนี้

imagesAT994P4Aเมื่อคนกลุ่มนี้มาใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในห้องสมุดซึ่งเป็นแบบเดียวกันหรือแนวเดียวกัน ก็จะสามารถเข้าใจและใช้งานอุปกรณ์นั้นได้อย่างรวดเร็ว ห้องสมุดในยุค “สังคมก้มหน้า” จึงจำเป็นต้องปรับการบริการให้ทันยุคสมัย กล่าวคือ ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงอุปกรณ์การสื่อสารประเภทสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ซึ่งคนที่อยู่ในวัยศึกษาและวัยเรียนส่วนใหญ่นิยมใช้กัน อย่างเช่น การจัดทำแอพของห้องสมุด การปรับหน้าจอผลการสืบค้นให้เหมาะสมในการใช้งานกับอุปกรณ์ดังกล่าว


imagesHMQJEL8Kอย่างไรก็ตามอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อใช้ต่อเนื่องกันนานๆ จะส่งผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทำให้ผู้ใช้มีพฤติกรรมที่แข็งกระด้าง ไม่ใส่ใจผู้คนหรือสิ่งรอบข้าง ใจร้อน ไม่มีความอดทนอดกลั้น คาดหวังผลที่ต้องการอย่างรวดเร็ว อารมณ์หงุดหงิดง่ายเมื่อไม่ได้ดังใจ จะขาดสติ ขาดความรู้ตัว ด้วยสาเหตุต่างๆ ดังกล่าวมานี้อาจส่งผลให้มีความไม่พึงพอใจในการใช้บริการโดยตัวบุคคลผู้ให้บริการมากขึ้นได้  ดังนั้นห้องสมุดนอกจากจะพัฒนาบุคลากรให้เรียนรู้ในวิชาชีพบรรณารักษ์แล้ว ยังจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับการบริการของห้องสมุด นัยหนึ่งเป็นการพัฒนาห้องสมุด แต่อีกนัยหนึ่งก็เพื่อลดแรงปะทะระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการที่อาจเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ใช้อาจไม่เห็นความสำคัญของห้องสมุดอีกต่อไป
ห้องสมุดในปัจจุบันแต่ละสถาบันจึงหาข้อดีของยุค “สังคมก้มหน้า” นี้ มาประยุกต์และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อวงการห้องสมุด

หาคำตอบแก้ปัญหาสังคมก้มหน้า

สังคมก้มหน้ากำลังระบาดไปทั่วโลกเลยว่าไหมคะสังเกตเห็นได้ชัดเลยว่าคนสมัยนี้ไม่ว่าจะขึ้นรถนั่งกินอาหาร เดินตามท้องถนน หรือแม้แต่คุยกับเพื่อนที่นั่งอยู่ข้างกันแท้ๆ ก็ยังคุยผ่านหน้าจอสี่เหลี่ยม และกิจกรรมยอดฮิตของเด็กๆ วัยเรียน วัยรุ่นชาวออนไลน์ก็คือ การถ่ายรูปสารพัดสิ่งอัพลงเฟซ หรืออินสตาแกรม แล้วรอให้คนมากดไลค์นั่นเอง ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ ทำให้หลายๆ คน มีปัญหาสุขภาพจิตตามมาอย่างคาดไม่ถึงเหมือนกัน
ผลการศึกษาผลกระทบของอินเตอร์เน็ตต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนไทย ชี้ชัดว่าเด็กและเยาวชนใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการบันเทิงมากที่สุด ขณะที่ผลกระทบด้านสังคม ไม่ค่อยรู้เรื่องภายนอก ไม่คุยกับคนรอบข้าง ซึมเศร้าอยู่แต่ในโลกความฝันของตัวเอง จากกรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยศึกษาพฤติกรรมการรับข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตของเด็ก และเยาวชนทั้งด้านการศึกษา ด้านบันเทิง ด้านลบ และด้านธุระ/ซื้อขาย รวมถึงความสัมพันธ์ของผล ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต กับกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,584 คน ทำให้ทราบว่า
M&C_on-the-table_2
ผลจากการใช้อินเตอร์เน็ตมีผลต่อ
สุขภาพจิตในทางบวก

ของเด็กและเยาวชนมากที่สุด ได้แก่ ทำให้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น เข้าใจและพอใจกับชีวิตของตนเอง มีความสุขกับสิ่งที่ทำแต่ละวัน สามารถจัดการปัญหาต่างๆ ให้สำเร็จ มีความมุ่งมั่นในการทำภารกิจต่างๆ รู้สึกสนุก เพลิดเพลินใจ
สุขภาพกายในทางลบ
ได้แก่ ทำให้อ่อนล้าสายตา สายตาสั้นลง ตาลาย เมื่อยแขน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ปวดก้นกบ หลัง ไหล่ กล้ามเนื้อมือและนิ้ว ร่างกายเมื่อยล้า อ่อนเพลีย ลืมเวลากินอาหารจนปวดท้อง เพลิน จนไม่ได้เข้าห้องน้ำ ทำให้มีผล ต่อระบบขับถ่าย
สุขภาพจิตในทางลบ
ได้แก่ ทำให้รู้สึกเศร้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่สามารถควบคุมสภาพจิตใจตนเองได้ หงุดหงิดกังวลใจกับเรื่องเล็กน้อย ทำงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายเสร็จไม่ทัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง เบื่อหน่ายท้อแท้ กับการดำเนินชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรม ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ในขณะนี้คือ เซลฟี่ ขี้อิจฉา ซึมเศร้า
เซลฟี ขี้อิจฉา ซึมเศร้าเซลฟี สามารถกัดกร่อนความมั่นใจ ความภาคภูมิใจในตัวเองได้ หากถ่ายรูปตัวเองเผยแพร่บนโลกออนไลน์เป็นบางโอกาส ถือเป็นการมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์ แต่หากมากไปและคาดหวังจดจ่อว่าจะมีใครเข้าดู เข้ามาแสดงความคิดเห็น แสดงว่าเซลฟีกำลังสร้างปัญหาและเป็นสัญญาณหนึ่งบอกถึงการขาดความมั่นใจในตัวเอง
M&C_on-the-table_5เรื่องนี้ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อมูลว่า “ในยุคที่คนนิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น ได้ทำให้คนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษามีพฤติกรรมที่เรียกว่า ‘เซลฟี่’ (Selfie) กันมาก โดยเป็นพฤติกรรมที่ชอบถ่ายรูปตัวเองในอิริยาบถต่างๆ ไม่ว่าจะไปที่ไหน ทำอะไร กินอะไร แล้วนำไปแชร์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อรอให้เพื่อนๆ มากดไลค์ หรือเขียนข้อความแสดงความเห็นต่างๆ”
สิ่งนี้กลายเป็นพฤติกรรมเคยชินของ หลายคนไปแล้ว ซึ่งถ้าดูเผินๆ ก็อาจคิดว่า ไม่เห็นจะเป็นอะไร แต่จิตแพทย์กลับมองว่า พฤติกรรมเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิตในอนาคตได้ โดยเฉพาะเรื่องความเชื่อมั่นหรือความมั่นใจในตนเอง ซึ่งจะมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และส่งผลต่ออนาคต การงาน และการพัฒนาประเทศอย่างคาดไม่ถึง
“เซลฟีจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล การลงรูปเพราะอยากได้การตอบรับจากสังคม และการได้ยอดกดไลค์ถือว่าเป็นรางวัล ซึ่งเป็นหลักปกติของมนุษย์ทั่วไป ถ้าอะไรที่ทำแล้วได้รางวัลก็จะทำซ้ำ แต่ว่ารางวัลของแต่ละบุคคลมีผลกระทบต่อความรู้สึกไม่เท่ากัน บางคนลงรูปไปแล้วได้แค่ 2 ไลค์เขาก็มีความสุขแล้ว เพราะถือว่าพอแล้ว แต่บางคนต้องให้มียอดคนกดไลค์มากๆ พอมากแล้วก็ยิ่งติด เพราะถือว่าเป็นรางวัล แต่หากได้รับการตอบรับน้อย ไม่เป็นอย่างที่คาดหวังไว้ และทำใหม่แล้วก็ยังไม่ได้รับการตอบรับจะส่งผลต่อความคิดของตัวเอง บุคคลนั้นสูญเสียความมั่นใจ และส่งผลต่อทัศนคติด้านลบของตัวเองได้ เช่น ไม่ชอบตัวเอง ไม่พอใจรูปลักษณ์ตัวเอง แต่หากบุคคลนั้น สามารถรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างให้เป็นปกติได้ เซลฟีก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต’
พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า “นักจิตวิทยาสหรัฐอเมริกาได้ให้ข้อคิดว่า เซลฟี สามารถกัดกร่อนความมั่นใจ ความภาคภูมิใจในตัวเองได้ หากถ่ายรูปตัวเองเผยแพร่บนโลกออนไลน์เป็นบางโอกาส ถือเป็นการมีส่วนร่วมใน สังคมออนไลน์ แต่หากมากไปและคาดหวัง จดจ่อว่าจะมีใครเข้าดู เข้ามาแสดง ความคิดเห็น แสดงว่าเซลฟีกำลัง สร้างปัญหา และเป็นสัญญาณหนึ่งบอกถึงการขาดความมั่นใจในตัวเอง ล่าสุด สาธารณสุขประเทศอังกฤษ ได้ออกมาประกาศว่า อาการเสพติด โซเชียลมีเดียถือเป็นโรคอย่างหนึ่ง ในแต่ละปีมีชาวอังกฤษเข้ารับการบำบัดมากกว่า 100 ราย
M&C_on-the-table_3
ความมั่นใจในตัวเองเป็นที่จำเป็นสำหรับทุกคน เพราะจะทำให้คนพอใจในตนเอง มีความสุข มีสมาธิ ไม่กังวล ไม่โหยหาความรัก และความสนใจจากคนอื่นๆ กล้าทำในสิ่งใหม่ที่เหมาะสม มีความเป็นผู้นำ กล้าเผชิญความจริง มีบุคลิกภาพดี เป็นมิตรกับคนทุกคน หากขาดความมั่นใจในตนเองแล้วจะเกิดความกังวล ลังเล ชีวิตไม่มีความสุข เมื่อมีความคิดสะสมไปเรื่อยๆ อาจมีความผิดปกติทางจิตใจอารมณ์ได้ง่าย เช่น หวาดกลัว หวาดระแวง เครียด อิจฉา ชอบจับผิดคนอื่น ซึมเศร้า อาจทำพฤติกรรมแปลกๆ มีลักษณะตรงข้ามกับความมั่นใจตัวเอง เช่น การแต่งกาย การใช้คำพูด หรือประชดชีวิตตนเอง เช่น ดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด เป็นต้น
หากเยาวชนไทยขาดความมั่นใจจะทำให้ไม่กล้าลงมือทำสิ่งใหม่ในชีวิต มักทำตาม คนอื่น เป็นผู้ลอกเลียนแบบ หรือทำซ้ำๆ ในสิ่งที่ทำมาแล้ว พัฒนาตนเองยาก มีผลต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ทำให้จำนวนผู้นำน้อยลง ครอบครัวขาดเสาหลักที่มั่นคง โอกาสการสร้าง หรือพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ เป็นไปได้ยากขึ้น หากเป็นผู้ทำงานแล้ว โอกาสความก้าวหน้าจะช้ากว่าคนอื่น
วิธีป้องกันการเสพติดเซลฟี และสร้างความมั่นใจตัวเองบนโลกความเป็นจริงคือ ต้องให้ความสำคัญต่อคนรอบข้างที่เป็นสิ่งแวดล้อมจริงในชีวิตประจำวัน หากิจกรรมยามว่างทำกับคนในครอบครัว เพื่อนๆ เช่น ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวพักผ่อน และข้อสำคัญให้ยอมรับในความแตกต่างของคนที่ไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน และที่สำคัญต้องฝึกความอดทนให้แก่ตัวเอง เพราะการถ่ายเซลฟีไม่สามารถที่จะทำได้ตลอดเวลา ครั้งไหนที่ทำไม่ได้ ต้องยอมฝืนใจที่จะไม่ทำ หากผ่านจุดนั้นไปได้ ครั้งต่อๆ ไปก็จะสามารถควบคุมพฤติกรรมการถ่ายเซลฟีได้เช่นกัน”
การหลอกลวงทางโปรแกรมแชท
suriyaนพ.สุริยเดว ทรีปาตี
ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ประเด็นสำคัญที่เด็กต้องเรียนรู้จากพ่อแม่และคนรอบข้าง คือ คนเหล่านั้นจะต้องสร้างทักษะในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม กติกา การระมัดระวัง ความรู้เท่าทันสื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อซะเอง เช่นการไม่ไปประจาน ไม่นำภาพของตัวเองที่ผิดจารีต ประเพณี วัฒนธรรม หรือผิดกฎหมาย ใส่เข้าไปแล้วเกิดการเผยแพร่
โปรแกรมแชทกับคนแปลกหน้าอาจชักนำให้เกิดการกระทำความผิดหรือกลายเป็นเหยื่อได้ นำไปสู่การคุกคาม การล่อลวง การฉ้อโกง การละเมิดทางเพศ ผู้ใช้งานสื่อเทคโนโลีสารสนเทศโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนจึงควรได้รับการดูแลและระมัดระวังในการเข้าถึงสื่อเหล่านี้
ประเด็นนี้ นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้คำแนะนำกับพ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแล ควบคุม การใช้อินเตอร์เน็ตของบุตรหลานว่า
“ประเด็นสำคัญที่เด็กต้องเรียนรู้จากพ่อแม่และคนรอบข้าง คือ คนเหล่านั้นจะต้องสร้างทักษะในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม กติกา การระมัดระวัง ความรู้เท่าทันสื่อ ไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อซะเอง เช่น การไม่ไปประจาน ไม่นำภาพของตัวเองที่ผิดจารีต ประเพณี วัฒนธรรมหรือผิดกฎหมาย ใส่เข้าไปแล้วเกิดการเผยแพร่
สิ่งเหล่านี้ครอบครัว โรงเรียน ต้องพุดคุย แล้วทำให้เกิดทักษะ รวมทั้งต้องรู้ข้อกฎหมายด้วยว่าถ้าเกิดกรณีแบบนี้ขึ้น อาจจะมีโทษตามกฎหมาย เช่น ไปละเมิดสิทธิคนอื่นเขา อันนี้วัยรุ่นไม่ค่อยรู้ ทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่รู้กฎหมาย ไม่ตระหนัก และเมื่อทำไปแล้วมันมีบูมเบอแรงกลับมาทำร้ายตัวเองได้ด้วย
ข้อที่สอง คือ ต้องระมัดระวังและมีทักษะการอยู่ร่วมกับสังคมโซเชียล ถ้าไม่มี เด็กรู้เท่าไม่ถึงกาณ์ สุดท้ายโดนบันทึก ล่อลวง ประเด็นที่สาม กระทรวงวัฒนธรรมหรือหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับสื่อทั้งหลาย น่าจะถึงเวลาที่โลกเสมือน หรือโซเชียลโกบอล คือ ชุมชนกลางอากาศต้องมี Change Agency หรือ Webmaster ที่เป็นเหมือนดีเจคอยดูแลระบบ ช่วยเหลือ คุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งไม่ได้เพียงกำจัดสิ่งชั่วร้าย หรือบล็อกสิ่งที่ไม่เข้าท่าเข้าทาง แต่จะต้องมีทักษะชนิดอื่น คือ ให้คำปรึกษา มีการวางกติกาขึ้นมา ไม่งั้นสังคมไม่เกิดการเรียนรู้
สุดท้ายผู้ใหญ่ควรดูแลแนะนำเรื่องเนื้อหาที่เหมาะสมบนโลกอินเตอร์เน็ตให้กับลูกๆ ให้รู้เนื้อหาไหนดีไม่ดี ควรและไม่ควรทำและต้องเรียนรู้ปรับเข้าหากิจกรรมทางสังคมออนไลน์กับลูกๆ เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมและชี้นำคอยตักเตือนลูกๆ ด้วยไม่ให้ลูกหลงผิดจากโลกออนไลน์ ส่วนเด็กๆ วัยรุ่น ก็ควรแบ่งเวลาในการใช้อินเตอร์เน็ต สลับกับพบกับเพื่อนบนโลกแห่งความเป็นจริง รวมทั้งแบ่งเวลาให้กับการอ่านหนังสือการทบทวนเนื้อหาตำราด้วย ทั้งในหนังสือและเนื้อหาบนโลกอินเตอร์เน็ต วิธีนี้จะช่วยให้ผลการศึกษาที่ดีต่อลูกได้ด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย / ผู้จัดการออนไลน์ / ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
Text Hippie Aloha
…………………………………….
แหล่งที่มา Mother&Care Magazineมาเธอร์แอนด์แคร์ คู่มือเลี้ยงลูก เพื่อ คุณแม่สมัยใหม่ ตั้งแต่ ตั้งครรภ์ จนถึงลูกอายุ 9 ปี ติดตามอ่านฉบับเต็มแบบออนไลน์ได้ที่ Mother&Care e-Magazine หรือ ติดตามที่ Community Club คุณแม่ Facebook Mother&Care ที่รวมเรื่องราวเรื่องน่ารู้ สำหรับคุณแม่มือใหม่คะ

"สังคมก้มหน้า" ค่านิยมอันตรายจากสมาร์ทโฟน

ในยุคนี้ สมาร์ทโฟนถือเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์คนในยุคดิจิตอลมากที่สุด เพราะสามารถใช้งานได้หลากหลาย เรียกได้ว่า "เครื่องเดียวตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ใช้งาน" และไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็จะเห็นคนก้มหน้าก้มตาเล่นสมาร์ทโฟนกันอยู่ประปราย และเหมือนจะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จนเกิดเป็นค่านิยมของคนยุคดิจอตอล หรือเรียกค่านิยมนี้ว่า "สังคมก้มหน้า"
สังคมก้มหน้า ค่านิยมอันตรายจากสมาร์ทโฟน

การใช้สมาร์ทโฟนตลอดเวลา อาจทำให้การรับรู้ภายนอกของคนเราลดลง โดยทั่วไปสมองของคนเราไม่สามารถแบ่งการทำงานหลายๆอย่างได้ในเวลาเดียวกัน จึงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองคนเราต่ำลงขณะเล่นสมาร์ทโฟนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ทั้งกับตัวเราเองและผู้อื่น
สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สังกัดกระทรวงไอซีที รายงานว่า ค่าเฉลี่ยของการใช้อินเตอร์เน็ตและระบบการสื่อสารออนไลน์ต่อสัปดาห์ของคนไทยอยู่ที่ 50.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นั่นหมายความว่า คนไทยใช้เวลากับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน เฉลี่ยประมาณ 7.2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะแสงบนหน้าจอประกอบด้วยแสงสีฟ้า ส่งผลเสียต่อจอประสาทตาโดยตรง อาจทำให้ดวงตาเสื่อมสมรรถภาพ เสี่ยงต่อโรคออฟฟิสซินโดรม และโรคนิ้วล็อคเพราะคุยแชทหรือเล่นสมาร์ทโฟนมากๆอีกด้วย
ล่าสุดมีคลิปที่เกี่ยวกับค่านิยมคนยุคนี้ และกำลังเป็นที่รับชมกันอยู่บน Youtube ในคลิปแสดงให้เห็นถึงค่านิยมของสังคมในยุคปัจจุบันหรือ สังคมก้มหน้า ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียที่ตามมาอย่างมากมาย

ถึงแม้การใช้สมาร์ทโฟนจะส่งผลเสียได้มากมายทั้งต่อสุขภาพคนเรา และสังคมทั่วโลก แต่สมาร์ทโฟนก็มีข้อดีอยู่มากมายและมีส่วนช่วยเหลือพัฒนาได้ด้วยอีกเช่นกัน เพียงแค่รู้จักใช้งานให้ถูกหลัก รู้จักแบ่งเวลา และมีสติในการใช้งาน สมาร์ทโฟนก็จะกลายเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สูงสุดและเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเหลือเราได้มากที่สุดเช่นกัน

เล่นมือถือข้ามถนนรถชนตาย เตือน"สังคมก้มหน้า"ระวัง | เดลินิวส์ „เล่นมือถือข้ามถนนรถชนตาย เตือน"สังคมก้มหน้า"ระวัง“

เล่นมือถือข้ามถนนรถชนตาย เตือน"สังคมก้มหน้า"ระวัง | เดลินิวส์
"สาวจีนดับคาที่ หลังเอาแต่เล่นโทรศัพท์มือถือขณะเดินข้ามถนน ถูกรถบรรทุกชน 2 คันซ้อนศีรษะแหลก“
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เล่นมือถือข้ามถนนรถชนตาย เตือน"สังคมก้มหน้า"ระวัง

เล่นมือถือข้ามถนนรถชนตาย เตือน"สังคมก้มหน้า"ระวัง | เดลินิวส์
„เว็บไซต์ข่าวจีน “คั่นคั่นนิวส์” รายงานจากมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ว่า สาวจีนซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เดินข้ามถนนบริเวณสี่แยกไฟแดงพลุกพล่านแห่งหนึ่งในเมืองจงซาน มณฑลกวางตุ้ง ประมาทมัวแต่เดินเล่นโทรศัพท์ไม่สนใจรถที่ขับสวนกันไปมา สุดท้ายเจอรถบรรทุกสีขาวพุ่งเข้าชนเต็มแรงจนร่างกระเด็นลงไปกับพื้นถนน รถบรรทุกสีเหลืองที่แล่นสวนมาตามปกติจึงเหยียบศีรษะของเธอเข้าเต็มแรง เสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที เหตุการณ์ทั้งหมดถูกบันทึกภาพได้โดยกล้องวิดีโอวงจรปิดที่อยู่บริเวณสี่แยก เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงก็เพียงแค่เก็บศพของเธอไปเท่านั้น เนื่องจากเธอได้เสียชีวิตไปแล้ว เหตุดังกล่าวก็สร้างความตื่นตะลึงให้กับคนในพื้นที่รวมทั้งเป็นอุทาหรณ์ให้กับประชาชนที่ประมาท มีพฤติกรรมชอบเดินเล่นโทรศัพท์ขณะเดินบนถนน หรือที่เรียกว่า"สังคมก้มหน้า"ด้วย.“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/foreign/322592

สังคมก้มหน้าโดยทั่วไป

viewsSI ism1
ต่างวัย หลายลีลา ในหลากอุปกรณ์
 ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
“คนยุคนี้ คิดคำนวณ…มากกว่าคิดคำนึง”
ความตอนหนึ่งที่อาจารย์พิษณุ ศุภนิมิต กล่าวไว้ในงานเขียน
และมีผู้เห็นคล้อยตามว่า “มันคือความจริงที่น่าใจหาย”
ประมาณว่าการกดปุ่ม คือ การคาดหวังและคิดคำนวณว่า จะต้อง “ได้” อะไรตามมาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น ได้ชนะคู่แข่งในเกมคอมพิวเตอร์ ได้เงินจากตู้สี่เหลี่ยม ได้หนีจากช่องทีวี
ได้ติดต่อผู้คนทั่วโลกด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ดิฉันมิอาจคาดเดาเวลา “ความ” ของอาจารย์พิษณุได้โดยตรง
แต่ข้อเขียนถึงของคุณธีรภาพ โลหิตกุล ผู้คล้อยตาม จากหนังสือ “มหัศจรรย์สุวรรณภูมิ” ระบุปี 2543
ในฐานะผู้อ่านต่อ ดิฉันคล้อยตามคิดเห็นของทั้ง 2 ท่าน อย่างยากที่จะปฏิเสธคิดที่ล่วงมาอย่างน้อย 14 ปี
ณ เวลาปัจจุบัน ที่ปุ่มกดแบบเดิมๆ หลายชนิด พัฒนาสู่การสัมผัสในหลากอุปกรณ์
ท่ามกลางถาโถมของกระแส Social network ที่มักพบว่ามากกว่า 5 ใน 10 ของผู้คน
ที่กำลังหายใจอยู่ในรัศมีวงล้อมออกซิเจนเดียวกัน ต่างมุ่งมั่นก้มหน้าก้มตา
เลื่อนจอไปมา จิ้มๆ กดๆ เจ้าวัตถุสมัยนิยมยุคใหม่…ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง
ประหนึ่งแวดล้อมรอบข้างกายมีเพียงอากาศธาตุไร้สัญญาณชีพ
ระหว่างการรอเรียกตัวเข้าพบแพทย์
เด็กน้อยเพียรจิ้ม ลาก ปล่อย เพื่อต่อแขนขา ใส่หมวก พันผ้า ให้เจ้าสโนว์แมนบนหน้าจออุปกรณ์
มินำพาแม้จะมีเด็กน้อยแปลกหน้าผู้อ่อนวัยกว่า พยายามเดินเข้าหายื่นหน้าตาอยากพูดคุย
ระหว่างระยะทางสั้นบ้าง ยาวบ้างบนรถโดยสาร
ระหว่างปริมาณคิวสั้นบ้าง ยาวบ้างขณะรอรับบริการ
ไม่เว้นแม้เมื่อรวมหมู่คณะสังสรรค์ดื่ม-กิน
ชาย – หญิงหลากวัย เพียรจิ้มบ้าง เลื่อนบ้าง พูดคุยทางปลายนิ้วบ้าง
บ้างก็ยิ้มหัวเพียงลำพัง บ้างก็มีสีหน้าเคร่งเคียด บ้างก็เพียรอ่าน บ้างก็เพียรดู บ้างก็เพียรฟัง ฯลฯ
ต่างคนต่างมีจุดมุ่งหมายของการ “ได้” แตกต่างกัน จากมายาเสมือนตรงหน้า
จนบางครั้ง หรือ หลายๆ ครั้ง หลงลืมสิ่งที่สูญเสียไปในโลกแห่งความจริงที่ต้องดำรง
เด็กน้อยสูญเสียการเรียนรู้ ละเลยความสนใจต่อสิ่งรอบกาย การเล่นซนตามวัยธรรมชาติหดหาย
ครอบครัวสูญเสียการพูดคุย หยอกล้อ กิจกรรมร่วมตามประสาครอบครัวดูเป็นส่วนเกิน
การรับประทานอาหารเย็นนอกบ้านบ่อยครั้ง จึงพบเห็นภาพ พ่อ แม่ ลูก ต่างก้มหน้าจดจ่อหน้าจอของตน
ประหนึ่งการรอคอยอาหารหนึ่งมื้อช่างเป็นการสูญเสียเวลาการสังสรรค์
เวลาความบันเทิงในสังคมเสมือนตรงหน้าเสียเหลือเกิน
เป็นแบบนี้มั้ย...บ่อยครั้งในชีวิต
เป็นแบบนี้มั้ย…บ่อยครั้งในชีวิต
 ภาพประกอบจาก anusornkob.blogspot.com
“สังคมก้มหน้า”
ใครนะ ช่างบัญญัติคำใช้ได้บาดลึกยุคสมัย
คุณอนุศร หงษ์ขุนทด บล๊อกเกอร์ท่านหนึ่ง ได้กล่าวถึง
สังคมก้มหน้า หรือ Social Ignoreism ซึ่งเขายืมคำย่อมาจากเพื่อนชาวต่างชาติว่า SI ลิซึ่ม
และได้นิยามอาการของกลุ่มเสพติดนี้ ไว้ในบทความ สังคมก้มหน้า (Social Ignore) ว่า
“คือคนกลุ่มที่เป็นบุคคลประเภทเสพติดข่าวสารหรือเทคโนโลยี ว่างไม่เกิน 5นาที
จะต้องหยิบSmart Phone หรือ Tablet ออกมากดๆ จิ้มๆ
โดยไม่สนใจคนรอบข้าง นอกจากอุปกรณ์ของตนเองตลอดเวลา”
SI ism3
คาดว่าทั้ง 3 คน น่าจะคุยกันอยู่…รึเปล่าาาา ^^
 ภาพประกอบจาก http://www.posttoday.com
สถิติการใช้งาน Social network ของคนไทย จาก Zocial Rank
เว็บไซต์เก็บข้อมูลสถิติเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
ระบุในช่วงปี 2012-2013 ประเทศไทยมีจำนวนประชากร 66 ล้านคน
มีผู้ใช้ Internet 25 ล้านคน ในจำนวนนี้ใช้ Social network 18 ล้านคน
Social network ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Facebook มีผู้ใช้ 85% โพสต์ข้อความ 31 ล้านโพสต์
ลำดับถัดมา คือ Twitter 10% โดยมี 5 ล้าน Tweet ต่อวัน
และ Instagram 5% มีการโพสต์รูป 124,000 รูปต่อวัน
ตัวเลขสถิตินี้เฉลี่ยคร่าวๆ คือ คนไทยใช้ Internet มากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนประชากร
ในจำนวนนั้นใช้ Social network มากถึง 2 ใน 3 โดยมีช่องทางเข้าถึงที่สำคัญ คือ
ผ่านโทรศัพท์และอุปกรณ์เคลื่อนที่มากถึง 64% ในขณะที่ใช้จากคอมพิวเตอร์ 36%
ในขณะที่ตัวเลขสถิติการเสพติด Social Network จาก Comscore
ซึ่งเป็นตัวเลขเก่าเมื่อพฤศจิกายน 2012 แต่ก็คงน่าสนใจ
มีผลสรุปการใช้เวลาในการเล่นของคนทั่วโลกเฉลี่ย 5.2 ชั่วโมง
ประเทศที่ติดอันดับ 1 ใช้เวลาสูงสุด 9.8 ชั่วโมง คือ อาร์เจนตินา
ตามด้วยบราซิล ใช้เวลาเฉลี่ย 9.7 ชั่วโมง และอันดับ 3 รัสเซีย ใช้เวลาเฉลี่ย 9.6 ชั่วโมง
ส่วนพี่ไทยของเราก็หาได้น้อยหน้า เราถูกจัดอยู่ในอันดับ 4 ด้วยเวลาเฉลี่ย 8.7 ชั่วโมง
เกินจากเวลาเฉลี่ยไปถึง 3.5 ชั่วโมง คิดง่ายคือ ½ เวลาทำงานต่อวัน
เห็นตัวเลขเหล่านี้แล้วจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะมีใครสักคนนิยามสังคมไทยในยุคนี้ดังชื่อบทความ
แล้วคุณล่ะ เข้าขั้นเสพติด Social Network หรือไม่ ลองตรวจสอบอาการเหล่านี้ดู
1. ปี๊บเมื่อไหร่ เป็นต้องเปิด
2. ช่างไลค์ช่างเลิฟ ถูกใจไปโม๊ดดดด
3. เจออะรั๊ยย อะไรก็แชร์ไว้ก่อนอาเตียสอนไว้ หุหุ
4. ไปไหนไหน ต้องเช็คอินประกาศให้โลกรู้
5. ดูโทรศัพท์ทุก 5-10 นาที เดี๋ยวพลาดความเคลื่อนไหวในโซเชียล
6. โพสต์แล้วต้องตามติดเรทติ้ง ใครมาไลค์ ใครมาเมนต์
7. เจ้าบทเจ้ากลอน เห็นคำคม ประโยคซึ้ง ต้องแชร์&โพสต์
8. อยู่ที่ไหน จะกินอะไร ต้องแช๊ะ-แชร์-ชิม
9. ทุกเช้า-ค่ำ ต้อง say hi & good bye กับชาวโลกออนไลน์
10.อยากเจอตัวเป็นๆ ยากเย็นกว่าในแชตออนไลน์ ตอบโต้ไวกว่าโทรศัพท์เสียอีก
เป็นอย่างไรคะ อ่านมาจนครบ
ถ้าไม่ใช่ก็ใกล้เคียงทั้ง 10 อาการนี่ นับว่าขั้นเทพเบยยย นะเจ้าคะ ^^

สังคมก้มหน้า by จุฬาฯ

สังคมก้มหน้า

      photo4ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีบนโลกใบนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสังคมระดับครอบครัว แวดวงเพื่อนฝูง หรือแม้กระทั่งสังคมในที่ทำงาน ซึ่งจะเห็นได้จากการเสพติดโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟน ไอแพด ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แค่เพียงปลายนิ้ว จนกระทั่งเทคโนโลยีเหล่านี้กลายเป็นปัจจัยที่ 6 นอกเหนือจากปัจจัย 4 ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั่วไป ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค รวมทั้งรถยนต์หรือยานพาหนะต่างๆ ซึ่งกลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 ที่จำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต

      ที่กล่าวมานั้นจะเห็นได้ว่า สมาร์ทโฟนทั้งหลายได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่หรือคนทั่วโลกไปแล้ว จะเห็นได้จากกลุ่มคนทุกวัยตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนถึงผู้สูงวัยทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วจะต้องเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนอย่างน้อย 1 เครื่อง ผลกระทบที่ตามมาจากการที่ทุกคนให้ความสำคัญกับสมาร์ทโฟนเหล่านี้ก็คือ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมระดับต่างๆ ลดลงไปจนถึงขั้นย่ำแย่

      เนื่องจากสมาร์ทโฟน ได้ดึงความสนใจจากสิ่งต่างๆ รอบตัวไปจนหมด ทุกคนต่างก้มหน้าก้มตาเสียเวลาไปกับสิ่งนี้ จนทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้าง ไม่มีใครสนใจใคร จนกลายเป็น “สังคมก้มหน้า” ที่เราได้ยินกันจนคุ้นหูและเห็นภาพเหล่านี้จนชินตา นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย ได้แก่ การเกิดปัญหานิ้วล็อค อาการปวดหลังหรือต้นคอ เนื่องจากการก้มเป็นเวลานาน ปัญหาทางสายตาที่เกิดจากการเพ่งมองมากเกินไป หรือทางด้านจิตใจ คือ ก่อให้เกิดความหมกมุ่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป จนก่อให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร เป็นต้น

      จากปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะสามารถคลี่คลายได้หากผู้ใช้รู้จักใช้อย่างมีสติและรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพียงเท่านี้ปัญหา “สังคมก้มหน้า” ก็จะหมดไป
น.ส.สุภาภรณ์ สำเนียง
เจ้าหน้าที่สำนักงานประชาสัมพันธ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Dangers of blue light


  • สังคมก้มหน้า
  • 1. Dangers of blue light หรือ อันตรายจากแสงสีฟ้า ทราบกัน ดีว่า ตอนนี้โลกและเทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก ทาให้เราต้อง ปรับตัว ใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร หรือรับชมได้รวดเร็วสะดวกสบาย มากขึ้น ทาให้ไม่ว่าเราจะมองไปทางไหนก็จะเห็นผู้คนก้มหน้าเล่นมือถือสมาร์ท โฟนหรือแท็บเล็ตต่างๆ ไม่ว่าจะตอนนั่งรถ กินข้าว กาลังเดิน ก่อนนอน หรือ แม้กระทั่งตอนเข้าห้องน้า จนทาให้เราลืมให้ความสาคัญกับดวงตา ซึ่งอย่างที่รู้ว่า เราหลีกเลี่ยงแสงสีฟ้าได้ยากมาก ดังนั้นเราต้องมา ทาความรู้จักถึงอันตราย อาการและวิธีการป้องกันแสงสีฟ้าบนมือถือ ทาลาย ดวงตาเบื้องต้นเสียก่อน
  • 2. แสงสีฟ้า คือ คลื่นแสงพลังงานสูง ที่มีความยาวคลื่น 400 – 500 นาโนเมตร โดยแสงสีฟ้าจะพบมากในมือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ที่ใช้กันตลอดเวลา มากกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ทาให้เป็นอันตรายต่อดวงตาของเราอย่างที่เราคาดไม่ถึง
  • 3. ทาไมแสงสีฟ้าและมีกาลังแรงจึงมีอันตราย ? การใช้มือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะเกิดผลกระทบกับเราเช่น ปวดตา ตาแห้ง พร่ามัว น้าตาไหล จากงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า แสงสีฟ้า (Blue Light) จะทาให้เซลล์ตายได้ เนื่องจากแสงสีฟ้ามีพลังงานมากพอที่จะไปกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ภายในลูกตา แล้วสารอนุมูลอิสระจะทาให้เซลล์ จอประสาทตาตาย ที่มา : http://news.siamphone.com/
  • 4. การป้องกันรังสียูวีย่อมดีกว่าการรักษา ในเทคโนโลยีทางการแพทย์ก็มีการป้องกันแสงสีฟ้า ตัวอย่างเช่น คนไข้ที่ผ่าตัดสลายต้อกระจก สามารถเลือกเลนส์แก้วตาเทียมชนิดที่กรองแสงสีฟ้ามาใส่แทนได้ หากเราต้องใช้สายตากับ หน้าจอมือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตทั้งวันเราควรหาหรือวิธีป้องกัน และดูแลรักษาดวงตา เช่น แว่นกรองแสง หรืออย่างตอนนี้มีการติดฟิล์มกันรอยที่สามารถ ตัดแสงสีฟ้า ก็สามารถ ช่วยป้องกันอันตรายได้แล้ว
  • 5. มีผลทาให้เราใจร้อน คาดหวังผลเร็วขึ้น อารมณ์หงุดหงิดง่าย แต่เดิมในยุคที่เราสื่อสารด้วยการ ส่งจดหมายติดแสตมป์ต้องใช้เวลากว่าที่จะ สื่อสารกันได้หากว่าเป็นข้ามทวีปด้วยแล้วเป็นหลักสัปดาห์ทีเดียว แต่ปัจจุบันส่ง อีเมลล์ข้ามทวีปไปแล้วหากมองนาฬิกาแล้วคิดว่า อีกฝ่ายน่าจะต้องตื่นแล้ว และไม่ ตอบมาในทันที อีกฝ่ายก็รู้สึกขุ่นมัวแล้วว่าอีกฝ่ายหายไปไหน ทาไมไม่ตอบ เพราะมีสมมุติฐานเบื้องต้นว่าโลกหมุนเร็วแล้วทุกคนต้องเร็วเท่ากัน พอเกิดความ คาดหวังแล้วไม่สมหวังก็เกิดอารมณ์ขุ่นมัวและบ่อยๆครั้งก็ไม่รู้ว่า นั่นคือการเกิดโทสะขึ้นมาแล้ว เก็บความคับข้องใจกลายเป็นอารมณ์ต่อไปอีก
  • 6. ขาดสติ ขาดความรู้ตัวทั่วพร้อม จนอาจจะก่อเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น นอกเหนือไปจากนี้การที่สังคมเราเป็น “สังคมก้มหน้า” ใจลอย จิตไปจดจ่ออยู่กับเนื้อหา “คอนเทนต์” บนหน้าจอสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต จนไม่เหลือปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก ทั้ง ๆ ที่บางทีอยู่ในภาวะที่จาเป็นต้องระมัดระวังตัว เช่น การข้ามถนน หรือขับรถอยู่บน ทางด่วน นั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนจิตใจแบบใด “ความรู้ตัวทั่วพร้อม” ยังอยู่ครบดีหรือไม่ หรือว่าจิตใจเราลอยไปอยู่กับสิ่งอื่นและไม่สามารถที่จะควบคุมด้วยตนเองได้อีกต่อไปแล้ว
  • 7. "เท็กซ์เนค" เป็นคาที่ นายแพทย์ดีน ฟิชแมน แพทย์กายภาพบาบัดผู้เชี่ยวชาญด้านบาบัด อาการของกระดูกสันหลังชาวอเมริกัน คิดขึ้นเพื่อใช้เรียกกลุ่มอาการของโรคที่เกิดขึ้นจาก การ "ก้มหน้า" บ่อยๆ ซ้าๆ และนานเกินปกตินี้ อาการที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่การปวดกล้ามเนื้อ บริเวณไหล่ กล้ามเนื้อคอ ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดทุกวัน หนักเข้าก็อาจพาลไปถึงเกิดการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนบน การก้มหน้าในลักษณะนี้บ่อยๆ นานๆ จะส่งผลต่อบุคลิกท่าทาง และการเติบโตของร่างกายในเด็กและวัยรุ่น ให้ออกมาบิดเบี้ยวโค้งงอจนต้องมาหาทางแก้กันยุ่งยากในภายหลัง
  • 8. ในอดีตโรคทางสายตาส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ทาให้คนในวัยหนุ่มสาวมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่ปัจจุบันจากการสารวจและศึกษาสถิติ การเป็นโรคทางสายตาในประเทศไทย พบว่าอัตราการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผลสารวจสุขภาพสายตาคนไทยปี 2549 ระบุว่าคนไทยไม่น้อยกว่า 15 ล้านคน มีสายตาผิดปกติ คาดว่าจะตาบอด 369,013 คน สายตาเลือนราง 987,993 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆทุกปี เพราะไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของคนยุคใหม่ มีการใช้สายตากันมากขึ้น ส่งผลให้ “อายุตา” สูงกว่าอายุตัว
  • 9. ในประเทศญี่ปุ่นได้มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในแต่วันเป็น เวลานานๆหลายชั่วโมงติดต่อกัน มีความเสี่ยงในการเกิดคอมพิวเตอร์วิชชั่นซินโดม แล้วยังมีความสัมพันธ์กับจานวนการเกิดต้อหินในการประชากรที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งหาก วินิจฉัยและรักษาช้าเกินไปจะทาให้สูญเสียการมองเห็นถาวร
  • 10. เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับสังคมก้มหน้ากันไปแล้ว แล้วอยากรู้ไหม ว่าสถิติของคนไทย ที่ใช้เวลาไปกับสื่อต่างๆในแต่ละวัน มากน้อยเพียงใด
  • 11. ต้องให้ความสาคัญต่อคนรอบข้างที่เป็นสิ่งแวดล้อมจริงในชีวิตประจาวัน หากิจกรรมยามว่างทากับคนในครอบครัว เพื่อนๆ เช่น ออกกาลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวพักผ่อน
  • 12. ควรพักสายตาทุก 15 นาที หากต้องใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป ใช้ระยะเวลาให้เหมาะสม ควรพักทุก 1-2 ชั่วโมง เปลี่ยนอิริยบทไปทากิจกรรมอย่างอื่นบ้าง
  • 13. การพักสายตาที่ดีที่สุดคือการนอน แต่ถ้าไม่สามารถนอนได้ ให้มองไปไกลๆ หรือพื้นที่สีเขียวเช่น ต้นไม้ เพื่อลดการเพ่งของสายตา
  • 14. ผู้ใหญ่ควรดูแลแนะนาเรื่องเนื้อหาที่เหมาะสมบนโลกอินเตอร์เน็ตให้กับลูกๆ ให้รู้เนื้อหาไหนดี ไม่ดี ควรและไม่ควรทาและต้องเรียนรู้ปรับเข้าหากิจกรรมทางสังคมออนไลน์กับลูกๆ เพื่อ เรียนรู้พฤติกรรมและชี้นาคอยตักเตือนลูกๆ ด้วยไม่ให้ลูกหลงผิดจากโลกออนไลน์
  • 15. อย่ามักง่ายที่จะใช้โทรศัพท์เป็นตัวกลางในการสื่อสารทุกครั้ง เพราะนั่นจะทาให้เรากลายเป็น คนพูดไม่เป็น ใช้ถ้อยคาห้วนๆ ปราศจากความไพเราะ ดังนั้นในเราควรที่จะใช้คาพูดเป็น ตัวกลางในการสื่อสาร ยังเป็นมิตรไมตรีต่อคนรอบข้างอีกด้วย
  • 16. LASIK Counsault JR ,2014 ,5 วิธีลดภาวะคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม,verify by Dr. Anun Vongthongsri ,Laservision International LASIK Center
  • 17. สังคมก้มหน้า โรคนิ้วล็อก อันตรายใกล้ตัว น่ากลัวกว่าที่คิด เพราะความสะดวกจากการใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตในปัจจุบัน ที่คนส่วนใหญ่ใช้เป็น เครื่องมือติดต่อสื่อสาร ทางานและให้ความบันเทิง แพทย์เตือน พิมพ์เยอะส่งผลกระทบต่อ เส้นเอ็น หากอาการหนักอาจถึงขั้นต้องผ่าตัดรักษา... ซึ่งเชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะเคยได้ยินคา เตือนเรื่องนิ้วล็อกกันมาบ้างแล้ว และแม้ว่ารู้ทั้งรู้ว่าการกดๆ จิ้มๆ สไลด์หน้าจอไปมาจะสุ่มเสี่ยงโรค แต่ทุกคนก็ยังเต็มใจทาแบบไม่แคร์! ต่อโรคภัย ที่กาลังรอรุมทึ้งร่างกาย
  • 18. สาหรับอาการที่กลุ่มคนเหล่านี้จะมาพบแพทย์ คือ ปวดบริเวณโคนนิ้วด้านในฝ่า มือ มีอาการนิ้วสะดุดหรืองอเหยียดนิ้วได้ไม่สุด มีอาการปวดช่วงเช้าและจะดีขึ้นเมื่อขยับมือ สักพัก ในการรักษาโรคดังกล่าวแพทย์ต้องประเมินก่อนว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะใดของอาการ แค่การอักเสบ หรือถึงขั้นเป็นโรคนิ้วล็อกแล้ว
  • 19. แพทย์จะเริ่มต้นการรักษาด้วยการให้หยุดพักการใช้งานนิ้วมือ ร่วมกับการทานยาต้านการ อักเสบของเส้นเอ็นหรือยาแก้ปวด และการกายภาพเอ็นข้อนิ้ว โดยใช้หนังยางหนาใส่นิ้วและถ่าง ออก โดยทาอย่างน้อยวันละ 30-60 รอบ หากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจต้องฉีดยาลดการอักเสบ สเตียรอยด์ หรือต้องเข้ารับการผ่าตัดขยายปลอกหุ้มเส้นเอ็น เพื่อทาให้เอ็นเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะต้องทาตามคาแนะนาของแพทย์อย่างเคร่งครัด และพยายามหลีกเลี่ยงการเล่น สมาร์ทโฟนที่บ่อยเกินไป
  • 20. โฮเทลส์ ดอทคอม เผยคนไทยติดมือถืออันดับ 1 จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจาก 28 ประเทศ ที่พกมือถือตลอดเวลาแม้แต่ไปพักร้อน โดยคนไทย โดย 6 ใน 10 ใช้เวลาไปกับการเช็กอีเมล์บนมือถือ และ 100% ใช้เพื่อเชื่อมต่อกับโลกโซเชียล...
  • 21. ทาไมคนไทยถึงใช้โทรศัพท์มือถือในการต่ออินเทอร์เน็ต ?
  • 22. แล้วคนไทยส่วนใหญ่ พวกสังคมก้มหน้าใช้โทรศัพท์ในช่วงเวลาใดบ้างนะ ?
  • 23. บ่อยไปไหมนะ...
  • 24. กิจกรรมใดบ้างหล่ะ ที่คนไทยนิยมใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ?
  • 25. ผ่าพฤติกรรมคนไทยผ่านโซเชียลมีเดีย
  • 26. ผลงานวิจัยของ InsightExpress บริษัทผู้วิจัยตลาดในสหรัฐฯ ที่ศึกษาพฤติกรรมของการใช้สมาร์ทโฟนในปัจจุบันของมนุษย์ ที่มีการวิจัยมาแล้วว่า คนไทยติดสมาร์ทโฟน 98% และขาดไม่ได้ http://bit.ly/1DaSWV4
  • 27. ดังนั้นเราควรพยายามหลีกเลี่ยงการเล่นสมาร์ทโฟนที่บ่อยเกินไป เมื่อได้รู้ถึงข้อเสียและผลกระทบต่อเราแบบนี้แล้ว ก็เงยหน้าสู่สังคมแท้จริงกันให้มากขึ้น เพลาการกดการจิ้มสารพัดจอในมือลงไปหน่อย ไม่ใช่ประโยชน์ของใคร เพื่อสุขภาพของคุณเอง!
  • 28. แล้วเราควรจะใช้เวลากับ โซเชียลมีเดียแค่ไหน ถึงจะไม่ติด ?
  • 29. โดยเริ่มจากการจับเวลาพฤติกรรมการใช้งานโซเชี่ยลมีเดีย ของคุณในแต่ละวัน ว่าคุณใช้เวลาเท่าไร หลังจากนั้นค่อยตั้งเป้าหมายในการใช้เวลาแต่ละครั้ง ให้ลดลง ก่อนใช้งานลองชาเลองเวลาที่คุณใช้จดลงกระดาษเอาไว้ ซึ่งหากคุณพบว่าคุณใช้เวลามากเกินไป คุณต้องเริ่มกาหนดตัวเองให้ใช้ลดลง กาหนดเวลาในการใช้งาน (Time Setting)
  • 30. ประกาศบอกออกไปให้คนอ่นๆ ได้รู้ว่าคุณกาลังจะลดการใช้งานโซเชี่ยลมีเดีย เช่น คนใกล้ตัว แฟน ลูกๆ โดยเฉพาะเพ่อนๆ ในโซเชี่ยลมีเดียของคุณ เพราะคนเหล่านั้น จะเป็นคนคอยเตอนคุณว่าคุณใช้งานโซเชี่ยลมีเดียมากไป ให้คนรอบข้างเป็นคนช่วย (Get Help from friends) กาหนดบทลงโทษตัวเองเอาไว้ หากตัวเองละเลยหรีอทาผิดใช้งานเกินที่กาหนด หากจะได้ผล จงกาหนดกฎนี้ไว้กับคนสนิทใกล้ตัว เช่น ครอบครัว แฟน ลูกๆ เพราะคนรอบข้างจะ เป็นคนช่วยคุณได้ดีมากบางครอบครัวกาหนดกฏขึ้นมาเลย เกี่ยวกับเรี่องนี้ กำหนดบทลงโทษ (Penalty)
  • 31. หลายคนที่ติดและใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกินไป เพราะว่าคุณมีโซเชียล มีเดียหลายตัวให้ใช้มากเกินไป ซึ่งบางทีมันเยอะเกินไป ดังนั้นเอาตัวที่คุณ ไม่ค่อยได้ใช้ออกไปจากมอถอของคุณ จะช่วยทาให้คุณใช้เวลาน้อยลงไปได้ เลีอกโซเชี่ยลมีเดียที่คุณใช้บ่อยที่สุด (Select Social Media You use the most) หลายครั้งที่คุณหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเพราะมีระบบเตอน ดังนั้นการปิดระบบเตอน หรอตั้งเวลาเปิดปิดโทรศัพท์ จะช่วยลดการเข้าถึงอุปกรณ์พกพาคุณได้ดีขึ้น นั้นหมายถึงการลดการใช้โซเชี่ยลมีเดียได้เช่นกัน ปิดระบบเตี่อน (Turn off notifications)
  • 32. เตรียมหากิจกรรมอย่างอ่นเอาไว้ก่อน เม่อเวลาที่คุณรู้สึกว่าคุณใช้โซเชี่ยลมีเดีย มากเกินไป จงหันไปใช้เวลากับกิจกรรมอย่างอ่นแทนเช่น อ่านหนังสอ, ออกกาลังกาย, เล่นกันลูกๆ, สวดมนต์. ออกไปเที่ยวข้างนอก เป็นต้น หากิจกรรมอย่างอี่นทาแทน (Find other Activity) แนะนาให้เปลี่ยนมอถอไปใช้รุ่นที่ต่อโซเชี่ยลมีเดียได้ยาก ยกเลิกการใช้อุปกรณ์ พกพาอย่างแท็ปเล็ตไปเลย ยกเลิกการต่อเน็ตผ่านมอถอ หรออาจจะยกเลิก ปิดบริการโซเชี่ยลมีเดียที่ใช้งานไปเลย ซึ่งจะลดการใช้งานได้แน่นอน หักดิบเลย (Sudden Terminate)
  • 33. และใช่ว่าทุกๆอย่างจะมีแต่ข้อเสียทั้งหมด เสมอไป.. เพราะในยุคของการเป็นสังคมก้มหน้า ก็มีข้อดีอยู่หลายด้านเช่นเดียวกัน
  • 34. ในยุคสังคมก้มหน้านี้เทคโนโลยีสามารถใช้ประโยชน์ให้กับเราได้ดี เช่น ใช้ ทางาน สบค้นข้อมูล โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป เป็นอุปกรณ์ส่อสารที่ส่งได้ทั้งภาพและเสียง แบบปัจจุบันทันที ประเภทของผู้ที่ใช้งานมีทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและหนุ่ม สาวที่มีความชานาญและเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมและอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวเสมอน เกิดมาเพ่อสิ่งนี้ ทุกวันนี้เราก็ได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านสังคมก้มหน้าได้หลาย ช่องทาง รวมทั้งการเรียนการสอนทางไกลน่าจะใช้ประโยชน์จากช่องทางนี้ได้มาก
  • 35. ข้อดีหลำย ๆ อย่ำงที่เทคโนโลยีได้ช่วยเรำมำกขึ้น จำกกำรทำธุรกิจ กำรเรียน กำรศึกษำ กำรแบ่งปัน กำรป้องกัน กำรหำควำมรู้ ถูกส่งต่ออย่ำงรวดเร็ว เพียงปลำยนิ้ว หำกเรำใช้อย่ำงมีประโยชน์มันก็เป็นสิ่งที่ดี และเพิ่มพูนควำมรู้รอบตัวให้แก่เรำ •นักธุรกิจทำรำยได้มหำศำลจำกกำรขำยของผ่ำนอินเตอร์เน็ต •ตำรวจจับคนร้ำยได้อย่ำงง่ำยดำยด้วย FB •นักศึกษำส่งงำนผ่ำน Email โดยไม่ต้องเสียเวลำหรอกระดำษปริ้นผิดปริ้นถูกก่อนส่ง • ประชำชนรู้เท่ำถึงกำรณ์ในเหตุกำรณ์ต่ำง ๆ เร็วยิ่งกว่ำ Real-Time ฯลฯ
  • 36. • 38% ตอบว่า มีส่วนช่วยทาให้รู้จักสิ่งใหม่ • 19% ตอบว่า ทาให้รู้ว่าสถานที่ใกล้เคียงมีอะไรบ้าง • 18% ตอบว่า ช่วยให้ข้อมูล หรอทางเลอกที่ดีกว่า • 13% ตอบว่า ช่วยเพิ่มการทบทวน หรอตัดสินใจเกี่ยวกับสินค้าและ ผลิตภัณฑ์ได้อีกครั้ง • 9% ตอบว่า มีอิทธิพลต่อการซ้อสินค้าหรอบริการผ่านโทรศัพท์มอถอ • 7% ตอบว่า มีอิทธิพลต่อการซ้อสินค้าหรอบริการที่ร้านค้า คนไทยคิดอย่างไร เมี่อกล่าวถึงประโยชน์ หรี่อ สิ่งที่ได้รับจากโฆษณาบนโทรศัพท์มี่อถี่อ
  • 37. ผู้ใช้สมาร์ทโฟนหรือผู้ที่ติดโซเชียลมีเดียนั้น อาจไม่ได้รับรู้ถึงผลกระทบ และผลเสียอย่างถี่ถ้วนมากนัก แต่เมื่อเราได้รู้ถึงอันตรายต่างๆ ของการเป็นสังคม ก้มหน้าแล้ว เราควรที่จะดูแลตนเอง ปรับปรุงตนเอง รวมถึง ผู้ใช้รอบข้างอีกด้วย ถึงแม้โซเชียลมีเดียจะมีข้อดีมากมายเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามแล้ว ก็มีข้อเสียอยู่ เสมอทุกด้าน ดังนั้นการใช้อย่างถูกวิธี ใช้อย่างพอสมควร จะเป็นประโยชน์และ ผลดี ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตัวของเราเอง
  • 38. 1. นางสาวนฤมล สว่างวรรณ เลขที่ 15 ชั้น ม.6/10 2. นางสาวเสาวณี กุ่ยแก้ว เลขที่ 23 ชั้น ม.6/10 ชี่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขี่อนทอง มูลวรรณ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ชี่อผู้จัดทาโครงงาน เรี่อง สังคมก้มหน้า

"สังคมก้มหน้า" ต้นเหตุและทางออก


172026421_4ba5cf6e6b.jpg

            ศัพท์บัญญัติใหม่ ในโลกออนไลน์ชื่อ “สังคมก้มหน้า”

             เพราะปัจจุบันนี้ ยุคที่คนเรามีสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกันอย่างน้อยคนละ 1 เครื่อง หรืออาจมากกว่า 1 เครื่อง ทำให้ คนเราไม่ค่อยใส่ใจคนรอบข้าง หรือแม้แต่ใจลอยเพราะว่าถูกสิ่งเร้าจากเนื้อหาในจอสมาร์ทโฟน หรือว่าแท็บเล็ต จนลืมรอบข้าง 
 
              ที่น่ากลัวคือ แม้แต่เวลาข้ามถนนหรืออยู่กลางถนน ก็ยังจ้องมองไปที่จอภาพ มากกว่าที่จะระมัดระวังตัวจากภยันตรายรอบข้าง บางทีได้รับสัญญาณก็ไม่รับรู้ เพราะ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ปฏิสัมพันธ์ที่อยู่บนโลกไซเบอร์ ไม่ใช่ปฏิสัมพันธ์กับโลกแห่งความเป็นจริง หรือไม่ได้อยู่กับสติ เป็นปราการด่านสำคัญในการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวสักเท่าไหร่แล้ว


social-media.jpg 
ผลกระทบ
          1)  มีผลทำให้เราใจร้อน คาดหวังผลเร็วขึ้น อารมณ์หงุดหงิดง่าย 
              แต่เดิมในยุคที่เราสื่อสารด้วยการ ส่งจดหมายติดแสตมป์ต้องใช้เวลาเป็นหลักวัน กว่าที่จะสื่อสารกันได้หากว่าเป็นข้ามทวีปด้วยแล้วเป็นหลักสัปดาห์ทีเดียว
               แต่ปัจจุบันส่งอีเมลข้ามทวีปไปแล้วหากมองนาฬิกาแล้วคิดว่า อีกฝ่ายน่าจะต้องตื่นแล้ว และไม่ตอบมาในทันที อีกฝ่ายก็รู้สึกขุ่นมัวแล้วว่าอีกฝ่ายหายไปไหน ทำไมไม่ตอบ เพราะมีสมมุติฐานเบื้องต้นว่า โลกหมุนเร็วแล้วทุกคนต้องเร็วเท่ากัน พอเกิดความคาดหวังแล้วไม่สมหวัง ก็เกิดอารมณ์ขุ่นมัว และบ่อย ๆ ครั้งก็ไม่รู้ว่า นั่นคือการเกิดโทสะขึ้นมาแล้ว เก็บความคับข้องใจกลายเป็นอารมณ์ต่อไปอีก
          2) ขาดสติ ขาดความรู้ตัวทั่วพร้อม จนอาจจะก่อเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น               นอกเหนือไปจากนี้ การที่สังคมเราเป็น “สังคมก้มหน้า” ใจลอย จิตไปจดจ่ออยู่กับเนื้อหา “คอนเทนต์” บนหน้าจอสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต จนไม่เหลือปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก ทั้ง ๆ ที่บางทีอยู่ในภาวะที่จำเป็นต้องระมัดระวังตัว เช่น การข้ามถนน หรือขับรถอยู่บนทางด่วน นั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนจิตใจแบบใด “ความรู้ตัวทั่วพร้อม” ยังอยู่ครบดีหรือไม่ หรือว่าจิตใจเราลอยไปอยู่กับสิ่งอื่นและไม่สามารถที่จะควบคุมด้วยตนเองได้อีกต่อไปแล้ว 
          แน่นอนว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ มีคุณูปการต่อการผลักดันโลกไปข้างหน้า แต่การใช้และปล่อยให้ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชั่น ต่าง ๆ มามีอิทธิพลเหนือ “ฮิวแมนแวร์” หรือมนุษย์ผู้มีศักยภาพในการควบคุมจิตใจตนและใช้จิตใจอันหนักแน่นและมีทิศทางของตนในการใช้ประโยชน์สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมา ที่สุดแล้วเราก็กลายเป็นเพียงทาสของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เพื่อนมนุษย์เราผลิตขึ้นมา แทนที่เราจะเป็นนาย เราจะกลายเป็นบ่าวไปสมบูรณ์แบบ

เพิ่มการสบตากับผู้อื่น
          การวิเคราะห์ของบริษัท Quantified Impressions ระบุว่าคนเรามักสบตากัน 30 - 60 % ของเวลาที่ใช้ในการสนทนา แต่ข้อแนะนำคือ ควรเพิ่มการสบตาให้มากขึ้นเป็น 60 - 70 % เพื่อสร้างความรู้สึกเชื่อมต่อด้านอารมณ์หรืออารมณ์ร่วมให้เกิดขึ้น แต่ปัญหาหนึ่งของเรื่องนี้คือการมีอุปกรณ์มือถือใช้งานและการทำงานหลายอย่างไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะในคนกลุ่มหนุ่มสาวในสังคมก้มหน้า ซึ่งทำให้ต้องใช้สายตาจับที่หน้าจอแทนที่จะสบตากับคู่สนทนา
         อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาเตือนว่าการก้มหน้าลงตรวจอุปกรณ์มือถืออยู่เป็นประจำอาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า บุคคลนั้นไม่พอใจกับชีวิตหรือความสัมพันธ์ที่ตนมีอยู่ กับผู้อื่น ทำให้ต้องคอยตรวจสอบความเคลื่อนไหวในเครือข่ายของตนอยู่เป็นประจำเพื่อดูว่าตนได้พลาดโอกาสทางสังคมเรื่องใดไปบ้าง
 
          ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การสบตากับผู้อื่นระหว่างการสนทนาช่วยแสดงถึงความมั่นใจและการให้ความเคารพต่อผู้อื่น และการสบตาจะให้ผลดีที่สุดหากใช้เวลานานราว 7-10 วินาทีกับคู่สนทนาแบบตัวต่อตัว และ 3-5 วินาทีสำหรับการสนทนาแบบเป็นกลุ่ม
 
227407.jpg
ปัญหาวัยรุ่นติด LINE หนัก หวั่นเป็นสังคมก้มหน้า 
           สธ. ห่วงวัยรุ่นติดไลน์ขั้นหนัก ชี้ทำพฤติกรรมแข็งกระด้าง หวั่นเป็นสังคมก้มหน้า พบร้อยละ 51 ตื่นนอนเล่นทันที
           นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตนรู้สึกห่วงใยถึงพฤติกรรมคนไทยในการใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) ที่นิยมใช้สื่อสารพูดคุยอย่างมาก
            ล่าสุดผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 2555 พบว่า ในกลุ่มประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไป ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวน 44 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในเขต กทม. โดยผลสำรวจระบุว่า
           เขต กทม. มีการใช้มากที่สุดถึงร้อยละ 84
           ภาคกลางร้อยละ 75 
           ภาคเหนือร้อยละ 68 
           ภาคใต้ร้อยละ 67 
           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 64
 
gen-y---smartphone-social-media-social-n
ข้อดี - ข้อเสียการใช้ LINE
 การเล่นไลน์นั้นมีทั้งผลดีและผลเสีย
 
  • ผลดี : อาจจะสร้างความสะดวกในการสื่อสาร สามารถส่งได้ทั้งภาพและเสียง อีกทั้งประหยัดไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์  
  • ผลเสีย : ในปัจจุบันเด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ และผู้ปกครองไม่ชี้แนะ หรือควบคุมการใช้งานอย่างจริงจัง ก็จะส่งผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
     
       โดยเฉพาะพฤติกรรมก้มหน้า สังคมก้มหน้า ซึ่งจะทำให้การสื่อสารแบบเผชิญหน้าลดน้องลง และอาจจะเป็นนิสัยที่ติดต่อต่อไป
        ในส่วนของผู้ใหญ่ก็มีผลกระทบเช่นกัน ซึ่งหากผู้ใช้อยู่ในโลกส่วนตัวมากเกินไป ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง หรือขาดความระมัดระวัง ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุหรือจราจรเพิ่มขึ้น
          ขณะที่ นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า แอพพลิเคชั่นไลน์ที่เด็กนิยมเล่นกันนั้น บางคนเล่นทุกวัน จนทำให้เด็กสูญเสียการใช้ชีวิตประจำวันที่ควรจะเป็น เช่นเรื่องสัมพันธภาพ การวางตัว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาการที่สำคัญของวัยรุ่น และการเล่นจนติดเป็นนิสัยนั้น จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่แข็งกระด้าง
 
หนทางป้องกัน - แก้ไข เด็กติด LINE
        ล่าสุดพบว่า วัยรุ่นร้อยละ 51 ตื่นมาเล่นทันที อีกร้อยละ 35 เล่นก่อนนอนทุกวัน   เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผู้ปกครองควรวางกติกาการเล่นให้กับเด็ก ทั้งกำหนดเวลาในการเล่น ไม่ให้มีการใช้โทรศัพท์ในช่วงเวลาไม่เหมาะสม
 
          อย่างไรก็ดี ขณะนี้สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ได้เปิดให้บริการปรึกษาแก่เด็กและผู้ปกครองที่มีบุตรหลานติดโทรศัพท์มือถือ หรือติดเกม โดยสามารถขอคำปรึกษาได้ที่  โทรศัพท์ หมายเลข 02-248-8990 หรือโทรสายด่วนสุขภาพจิต หมายเลข 1323 สำหรับ 24 ชั่วโมงให้บริการทั่วประเทศ

เราจะคิดโจทย์วิจัย อะไรจากพฤติกรรม สังคมก้มหน้า.....


                "ปัจจุบันไม่ว่าจะเดินทางไปไหนมาไหนกับครอบครัว เพื่อน พี่น้อง หรือว่ามองไปที่คนรอบข้าง
มักจะเห็นแต่ละคนต่างนั่งก้มหน้าอยู่กับหน้าจออุปกรณ์สื่อสารของตัวเองกันแทบทั้งสิ้น 
จึงทำให้เกิดศัพท์บัญญัติใหม่ในโลกออนไลน์ชื่อ ’สังคมก้มหน้า 
ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มีผลกระทบอยู่ไม่น้อย หากเรายังปล่อยปละละเลยให้สังคมเป็นเช่นนี้ต่อไป"
                    ที่มา : ‘สังคมก้มหน้า’ ปรากฎการณ์ห่างเหินแนะปรับพฤติกรรมก่อนสาย! คลิก
                 จากพฤติกรรมทางสังคมของผู้คนในยุค Social Network ที่ผู้คนต่างก้มหน้าอยู่กันอุปกรณ์ 
พกพาส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ ไอแพด ไอโฟน แท็บเล็ต ต่างๆ 
ซึ่งเราจะพบเห็นอยู่ได้ทั่วไปว่าผู้คนเหล่านี้ต่าง ง่วนอยู่กับการ แชท ผ่านไลน์ กับเพื่อนหรือกลุ่มเพื่อน 
การโพสต์ภาพอาหารที่กำลังจะทาน หรือทานเสร็จแล้วผ่านหน้าจอเฟสบุ๊ค หรือการกด Like 
กับเพื่อนที่โพสต์กิจกรรมในกลุ่มเกือบจะทุกวินาที ทำให้สามีภรรยา ที่สามีง่วนอยู่กับไอโฟน 
ส่วนภรรยาก็สไลด์หน้าจอไอแพดอย่างเมามัน โดยไม่ได้สนใจพูดคุยกันในร้านอาหาร เป็นภาพที่ชินตา สำหรับสังคมบ้านเรา 
               
ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดี กรมสุขภาพจิต ได้ให้ความรู้ว่า 
พฤติกรรมสังคมก้มหน้า มีทั้งผลดีและผลเสีย กล่าวคือ
"เรื่องการใช้เวลากับสิ่งเหล่านี้ แม้สิ่งที่เราทำจะเป็นประโยชน์ 
ถ้าก้มหน้าได้อย่างเดียวแต่เงยหน้าขึ้นมาไม่ได้เลย ในแง่การใช้เวลากับมันมากเกิน
ไปจนเริ่มรบกวนสิ่งที่เรียกว่า การทำหน้าที่ปกติ เช่น 
ถึงเวลาต้องรับประทานอาหาร แต่รู้สึกว่าไม่กินก็ได้ 
หรือถึงเวลาต้องนอนก็ไม่นอน 
ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ได้ อีกอย่างต้องยอมรับว่าการสื่อสารผ่านอุปกรณ์เหล่านี้
ไม่ทดแทนการพูดคุยแบบเผชิญหน้ากัน
 ไม่ใช่แปลว่าเรามีเพื่อนมากมายอยู่ใน Facebook หรือใน Line 
แต่ในความเป็นจริงหากเราไปไหนแล้วไม่มีคนคุยด้วยหรือคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง 
ไม่มีเพื่อนในสังคมจริง ไม่ได้แปลว่าคุณมีเพื่อน เพราะว่าทักษะทางสังคมที่เรียกว่า “Face to face” 
การมองหน้าหรือสบตากัน การมีจังหวะในการพูดคุย บางคนเสียไปเลย เช่น 
เวลาจะพูดกับคนอื่นรู้สึกประหม่า หรือว่าไม่เข้าหาคนอื่น หรือวางตัวไม่ถูก 
หรือว่าภาษาเป็นปัญหา เพราะภาษาที่ใช้ในโซเชียลเน็ตเวิร์กไม่ค่อยปกติ  
ยิ่งถึงเวลาเป็นเรื่องของทางการมักเริ่มมีปัญหาว่าจะพูดภาษาที่เป็นทางการอย่างไร"
            จากแนวคิดเรื่องดังกล่าวนี้นี่เอง ทำให้ผมได้ลองให้ความคิดกับนิสิตปริญญาโทของผมคนหนึ่ง
ลองไปศึกษาถึงพฤติกรรมของวัยรุ่นในอำเภอหนึ่ง ของจังหวัดพิจิตร ว่าพฤติกรรมของสังคมก้มหน้า 
จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือไม่ อย่างไร โดยใช้กระบวนการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่จะหาคำตอบ
 มาตอบความอยากรู้ต่อไป 

ต้องขอบคุณ คุณหมอ เจเจ ผุ้จุดประกายความคิดของบทความนี้ครับ 
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/548278