วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อันตรายและโรคของ ′สังคมก้มหน้า′ที่คุณควรรู้ไว้ ?


..โรค′เท็กซ์เนค′ อาการของ′สังคมก้มหน้า

...อันที่จริงเรื่อง "เท็กซ์เนค" ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่พูดถึงกันมา 2-3 ปีแล้ว ที่ผมหยิบกลับมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งเป็นเพราะว่าตอนนี้มันกำลังกลายเป็น "โกลบอล ซินโดรม"คือออกอาการกันแพร่หลายไปทั่วโลก ตามการแพร่ระบาดของอุปกรณ์พกพาสารพัดตั้งแต่ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เรื่อยไปจนถึงอีบุ๊กรีดเดอร์ทั้งหลาย

....ก่อนหน้านี้อุปกรณ์เหล่านี้ถูกจำกัดการใช้งานด้วยการเชื่อมต่อแต่ตอนนี้เมื่อสามารถเชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกเวลา เนื้อหาที่มากับหน้าจอก็หลากหลายมากขึ้น ดึงดูดใจมากขึ้น ทั้งไลน์ ทั้งเกม ทั้งอีบุ๊กสารพัดสัดส่วนการใช้งานต่อวันก็เพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล ไปไหนมาไหนก็เจอแต่ผู้คนก้มหน้าลงหาจออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นบนรถไฟฟ้า รถประจำทาง ร้านอาหาร
....หนักๆ เข้าเดินไปไหนมาไหน ยังไปในลักษณะ "ก้มหน้าจนมีผู้ใหญ่..ค่อนแคะให้เข้าหูว่าสังคมยุคนี้กลายเป็น "สังคมก้มหน้า" ไปแล้ว


...."เท็กซ์เนค" เป็นคำที่ นายแพทย์ดีน ฟิชแมน แพทย์กายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญด้านบำบัดอาการของกระดูกสันหลังชาวอเมริกัน คิดขึ้นเพื่อใช้เรียกกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการ "ก้มหน้า" บ่อยๆ ซ้ำๆ และนานเกินปกตินี้อาการที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่ การปวดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ กล้ามเนื้อคอ ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดทุกวันหนักเข้าก็อาจพาลไปถึงเกิดการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนบน
ซึ่งถือว่าสาหัสเลยทีเดียวครับ

....ที่น่ากังวลก็คือ การก้มหน้าในลักษณะนี้บ่อยๆ นานๆ  จะส่งผลต่อบุคลิกท่าทาง และการเติบโตของร่างกายในเด็กและวัยรุ่น..ให้ออกมาบิดเบี้ยวโค้งงอจนต้องมาหาทางแก้กันยุ่งยากในภายหลัง

....ที่มาของโรคนี้คือการก้มนั่นแหละครับในทางการแพทย์เขาบอกว่าเพียงแค่การก้มศีรษะลงไปข้างหน้าผิดจากท่าปกติตามธรรมชาติ (คือเมื่อหูของเราอยู่ในแนวเดียวกับไหล่)
..การก้มไปเพียงแค่นิ้วเดียว น้ำหนักของศีรษะก็จะทำให้ กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูกและเส้นประสาทในบริเวณไหล่ คอ ต้องแบกรับภาระหนักขึ้นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วยการถ่วงไปข้างหน้าจะไปดึงรั้งกล้ามเนื้อเส้นเอ็นทั้งหมดให้ต้องแบกรับภาระตามมาด้วยอาการตึง..ถ้าทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้งก็จะเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ทั้งกับกล้ามเนื้อ เอ็น และเส้นประสาทในบริเวณดังกล่าว

....ดร.ฟิชแมนเคยแสดงให้เห็นในฟิล์มเอกซเรย์..ของวัยรุ่นอเมริกันที่แสดงอย่างชัดเจนว่ากระดูกสองสามชิ้นบริเวณข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งงอไปด้านหน้าแบบผิดธรรมชาติเพราะเหตุนี้มาแล้ว

....ข้อมูลที่ได้จากผลการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อปี2000ระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วศีรษะของคนเราจะหนักประมาณ 5 กิโลกรัมการก้มไปข้างหน้าทุกๆ 2 เซนติเมตรจะทำให้ไหล่ต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ดังนั้น ถ้าก้มลงไป 6 เซนติเมตร น้ำหนักของศีรษะที่ไหล่ คอ และกระดูกสันหลังที่ต้องรองรับนั้นจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 15 กิโลกรัม


...น้ำหนักขนาดนั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมการก้มนานๆ ซ้ำๆ อยู่ทั้งวันถึงก่อให้เกิดอาการได้มากขนาดนั้น

....คำแนะนำของแพทย์เพื่อการป้องกันไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อของเท็กซ์เนคอย่างง่ายๆก็คือ 
ละสายตาจากจอ เปลี่ยนท่าจากการก้มหน้า ปล่อยให้ศีรษะกลับคืนสู่ท่าธรรมชาติในทุกๆ 15 นาที 
เงยหน้าขึ้น เหลียวไปรอบๆ ถ้ายังจำเป็นต้องจ้องจออยู่ก็ยกมันให้ขึ้นมาอยู่ในระดับสายตาเพื่อลดการแบกรับน้ำหนักของคอลงเป็นระยะๆ

....ถ้าเป็นไปได้ก็ควรออกกำลังกาย ในแบบที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่ได้ผ่อนคลาย 
..จะเป็นโยคะก็ได้หรือจะเป็นกายบริหารแบบพิลาทีสที่มุ่งเน้นไปที่การทำให้ร่างกายของเราอยู่ในท่าทางที่ถูกต้องก็ได้ทำให้ได้ทุกวันจะป้องกันปัญหานี้ได้

....ใครที่ลองปฎิบัติตนตามนี้แล้วยังไม่ได้ผล แสดงว่า เท็กซ์เนคของคุณค่อนข้างจะรุนแรงแล้ว
..ควรไปพบแพทย์อย่างน้อยๆ ก็อาจต้องใช้ยาจำพวกคลายกล้ามเนื้อช่วยแต่ถ้าอาการเกิดไปกระทบทำให้กลุ่มประสาทในบริเวณดังกล่าวถูกบีบ กดอยู่นานๆจนเกิดอาการปวดประสาทก็จัดอยู่ในขั้นต้องให้แพทย์ที่เชี่ยวชาญดูแลเป็นการเฉพาะจะดีที่สุด

...สุดท้ายแล้ว..ก็ควรลดการเป็นส่วนหนึ่งของ"สังคมก้มหน้า"ให้เหลือน้อยที่สุดละครับ


อ้างอิงhttp://pantip.com/topic/32512957

เตือนสังคมก้มหน้า 'โรคนิ้วล็อก' อันตรายใกล้ตัว น่ากลัวกว่าที่คิด



เพราะความสะดวกจากการใช้สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตในปัจจุบัน ที่คนส่วนใหญ่ใช้เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร ทำงาน และให้ความบันเทิง แพทย์เตือนพิมพ์เยอะส่งผลกระทบต่อเส้นเอ็น หากอาการหนักอาจถึงขั้นต้องผ่าตัดรักษา...

เวลานี้...หันไปทางไหนก็เจอแต่คนก้มหน้าก้มตาสนใจหน้าจอส่วนบุคคล ทั้งสมาร์ทโฟน ทั้งแท็บเล็ตยอดดวงใจ ระดมกด ระดมจิ้ม ฝึกพลังนิ้วมือกันแบบไม่มีใครยอม (สนใจ) ใคร ทั้งแชต ท่องโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก และเล่นเกม ซึ่งเชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะเคยได้ยินคำเตือนเรื่องนิ้วล็อกกันมาบ้างแล้ว และแม้ว่ารู้ทั้งรู้ว่าการจดๆ จิ้มๆ สไลด์หน้าจอไปมาจะสุ่มเสี่ยงโรค แต่ทุกคนก็ยังเต็มใจทำแบบไม่แคร์! ต่อโรคภัย ที่กำลังรอรุมทึ้งร่างกาย
วันนี้เราเลยจะมาย้ำถึงโทษและโรคภัยที่อาจเกิดขึ้น จากพฤติกรรมของคนเสพติดเทคโนโลยี เพื่อย้ำเตือนทุกท่านอีกครั้ง...


แม้จะมีผู้คนอยู่มาก แต่หลายคนเลือกใส่ใจกับมือถือที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น
วันนี้เราเลยจะมาย้ำถึงโทษและโรคภัยที่อาจเกิดขึ้น จากพฤติกรรมของคนเสพติดเทคโนโลยี เพื่อย้ำเตือนทุกท่านอีกครั้ง...
"จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าการเสพติดสมาร์ทโฟน เป็นปัจจัยเกิดโรคเส้นเอ็นนิ้วโป้งอักเสบ" นายแพทย์ภัทร จุลศิริ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อทั่วไป โรงพยาบาลเวชธานี กล่าว พร้อมอธิบายต่อไปว่า อันดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเส้นเอ็นของคนเราจะถูกหุ้มด้วยปลอกหุ้มเส้นเอ็น (A1 pulley) เหมือนกับสายไฟในท่อร้อยสายไฟ เมื่องอหรือเหยียดนิ้ว เส้นเอ็นจะขยับอยู่ในปลอกหุ้ม ซึ่งการเล่นเกม แชต หรือกดหน้าจอสมาร์ทโฟนที่ค่อนข้างเล็กบ่อยๆ จะทำให้นิ้วโป้งมีการงอมากกว่าปกติ และยังเกิดการเสียดสีระหว่างปลอกหุ้มกับเส้นเอ็นจนอักเสบ บวม ทำให้เอ็นผ่านปลอกหุ้มได้ไม่สะดวก ก่อให้เกิดอาการปวดบริเวณที่โคนนิ้วโป้ง หรือหากเป็นมากก็อาจเกิดนิ้วล็อก เหยียดไม่ออกในที่สุด

ผู้หญิงเป็นเยอะกว่า!
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อทั่วไป ยังอธิบายอีกว่า โรคดังกล่าวมักจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวต่างๆ หรือคนที่งอนิ้วบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น พิมพ์งาน, หิ้วถุงใส่ของ, หรือกำมือหยิบของ เป็นต้น
การใช้สมาร์ทโฟนทุกอิริยาบถ กลายเป็นเรื่องชินตาที่หลายๆ คนนิยมทำ
ปวดโคนนิ้ว เหยียดนิ้วไม่สุด ต้องรีบพบแพทย์
สำหรับอาการที่กลุ่มคนเหล่านี้จะมาพบแพทย์ คือ ปวดบริเวณโคนนิ้วด้านในฝ่ามือ มีอาการนิ้วสะดุดหรืองอเหยียดนิ้วได้ไม่สุด มีอาการปวดช่วงเช้าและจะดีขึ้นเมื่อขยับมือสักพัก ในการรักษาโรคดังกล่าวแพทย์ต้องประเมินก่อนว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะใดของอาการ แค่การอักเสบ หรือถึงขั้นเป็นโรคนิ้วล็อกแล้ว

หากเป็นมากต้องผ่าตัด! สถานเดียว
แพทย์จะเริ่มต้นการรักษาด้วยการให้หยุดพักการใช้งานนิ้วมือ ร่วมกับการทานยาต้านการอักเสบของเส้นเอ็นหรือยาแก้ปวด และการกายภาพเอ็นข้อนิ้ว โดยใช้หนังยางหนาใส่นิ้วและถ่างออก โดยทำอย่างน้อยวันละ 30-60 รอบ หากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจต้องฉีดยาลดการอักเสบสเตียรอยด์ หรือต้องเข้ารับการผ่าตัดขยายปลอกหุ้มเส้นเอ็น เพื่อทำให้เอ็นเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และพยายามหลีกเลี่ยงการเล่นสมาร์ทโฟนที่บ่อยเกินไป

รู้แบบนี้แล้วก็เงยหน้าสู่สังคมแท้จริงกันให้มากขึ้น เพลาการกดการจิ้มสารพัดจอในมือลงไปหน่อย ไม่ใช่ประโยชน์ของใคร สุขภาพของคุณเอง...!

อ้างอิง http://www.thairath.co.th/content/421659

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สังคมก้มหน้า

สังคมก้มหน้า


สังคมก้มหน้าคืออะไร?
 ศัพท์บัญญัติใหม่ ในโลกออนไลน์ชื่อ “สังคมก้มหน้า” เพราะปัจจุบันนี้ ยุคที่คนเรามีสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกันอย่างน้อยคนละ 1 เครื่อง หรืออาจมากกว่า 1 เครื่อง ทำให้ คนเราไม่ค่อยใส่ใจคนรอบข้าง หรือแม้แต่ใจลอยเพราะว่าถูกสิ่งเร้าจากเนื้อหาในจอสมาร์ทโฟน หรือว่าแท็บเล็ต จนลืมรอบข้าง 

  ที่น่ากลัวคือ แม้แต่เวลาข้ามถนนหรืออยู่กลางถนน ก็ยังจ้องมองไปที่จอภาพ มากกว่าที่จะระมัดระวังตัวจากภยันตรายรอบข้าง บางทีได้รับสัญญาณก็ไม่รับรู้ เพราะ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ปฏิสัมพันธ์ที่อยู่บนโลกไซเบอร์ ไม่ใช่ปฏิสัมพันธ์กับโลกแห่งความเป็นจริง หรือไม่ได้อยู่กับสติ เป็นปราการด่านสำคัญในการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวสักเท่าไหร่แล้ว


ผลกระทบ
1)มีผลทำให้เราใจร้อน คาดหวังผลเร็วขึ้น อารมณ์หงุดหงิดง่าย 
  แต่เดิมในยุคที่เราสื่อสารด้วยการ ส่งจดหมายติดแสตมป์ต้องใช้เวลาเป็นหลักวัน กว่าที่จะสื่อสารกันได้หากว่าเป็นข้ามทวีปด้วยแล้วเป็นหลักสัปดาห์ทีเดียว

  แต่ปัจจุบันส่งอีเมลข้ามทวีปไปแล้วหากมองนาฬิกาแล้วคิดว่า อีกฝ่ายน่าจะต้องตื่นแล้ว และไม่ตอบมาในทันที อีกฝ่ายก็รู้สึกขุ่นมัวแล้วว่าอีกฝ่ายหายไปไหน ทำไมไม่ตอบ เพราะมีสมมุติฐานเบื้องต้นว่า โลกหมุนเร็วแล้วทุกคนต้องเร็วเท่ากัน พอเกิดความคาดหวังแล้วไม่สมหวัง ก็เกิดอารมณ์ขุ่นมัว และบ่อย ๆ ครั้งก็ไม่รู้ว่า นั่นคือการเกิดโทสะขึ้นมาแล้ว เก็บความคับข้องใจกลายเป็นอารมณ์ต่อไปอีก

2) ขาดสติ ขาดความรู้ตัวทั่วพร้อม จนอาจจะก่อเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น 

  นอกเหนือไปจากนี้ การที่สังคมเราเป็น “สังคมก้มหน้า” ใจลอย จิตไปจดจ่ออยู่กับเนื้อหา “คอนเทนต์” บนหน้าจอสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต จนไม่เหลือปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก ทั้ง ๆ ที่บางทีอยู่ในภาวะที่จำเป็นต้องระมัดระวังตัว เช่น การข้ามถนน หรือขับรถอยู่บนทางด่วน นั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนจิตใจแบบใด “ความรู้ตัวทั่วพร้อม” ยังอยู่ครบดีหรือไม่ หรือว่าจิตใจเราลอยไปอยู่กับสิ่งอื่นและไม่สามารถที่จะควบคุมด้วยตนเองได้อีกต่อไป
 แน่นอนว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ มีคุณูปการต่อการผลักดันโลกไปข้างหน้า แต่การใช้และปล่อยให้ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชั่น ต่าง ๆ มามีอิทธิพลเหนือ “ฮิวแมนแวร์” หรือมนุษย์ผู้มีศักยภาพในการควบคุมจิตใจตนและใช้จิตใจอันหนักแน่นและมีทิศทางของตนในการใช้ประโยชน์สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมา ที่สุดแล้วเราก็กลายเป็นเพียงทาสของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เพื่อนมนุษย์เราผลิตขึ้นมา แทนที่เราจะเป็นนาย เราจะกลายเป็นบ่าวไปสมบูรณ์แบบ


เพิ่มการสบตากับผู้อื่น


  การวิเคราะห์ของบริษัท Quantified Impressions ระบุว่าคนเรามักสบตากัน 30 - 60 % ของเวลาที่ใช้ในการสนทนา แต่ข้อแนะนำคือ ควรเพิ่มการสบตาให้มากขึ้นเป็น 60 - 70 % เพื่อสร้างความรู้สึกเชื่อมต่อด้านอารมณ์หรืออารมณ์ร่วมให้เกิดขึ้น แต่ปัญหาหนึ่งของเรื่องนี้คือการมีอุปกรณ์มือถือใช้งานและการทำงานหลายอย่างไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะในคนกลุ่มหนุ่มสาวในสังคมก้มหน้า ซึ่งทำให้ต้องใช้สายตาจับที่หน้าจอแทนที่จะสบตากับคู่สนทนา
  อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาเตือนว่าการก้มหน้าลงตรวจอุปกรณ์มือถืออยู่เป็นประจำอาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า บุคคลนั้นไม่พอใจกับชีวิตหรือความสัมพันธ์ที่ตนมีอยู่ กับผู้อื่น ทำให้ต้องคอยตรวจสอบความเคลื่อนไหวในเครือข่ายของตนอยู่เป็นประจำเพื่อดูว่าตนได้พลาดโอกาสทางสังคมเรื่องใดไปบ้าง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การสบตากับผู้อื่นระหว่างการสนทนาช่วยแสดงถึงความมั่นใจและการให้ความเคารพต่อผู้อื่น และการสบตาจะให้ผลดีที่สุดหากใช้เวลานานราว 7-10 วินาทีกับคู่สนทนาแบบตัวต่อตัว และ 3-5 วินาทีสำหรับการสนทนาแบบเป็นกลุ่ม

ปัญหาวัยรุ่นติด LINE หนัก หวั่นเป็นสังคมก้มหน้า 
     สธ. ห่วงวัยรุ่นติดไลน์ขั้นหนัก ชี้ทำพฤติกรรมแข็งกระด้าง หวั่นเป็นสังคมก้มหน้า พบร้อยละ 51 ตื่นนอนเล่นทันที
   นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตนรู้สึกห่วงใยถึงพฤติกรรมคนไทยในการใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) ที่นิยมใช้สื่อสารพูดคุยอย่างมาก
  ล่าสุดผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 2555 พบว่า ในกลุ่มประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไป ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวน 44 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในเขต กทม. โดยผลสำรวจระบุว่า
           เขต กทม. มีการใช้มากที่สุดถึงร้อยละ 84
           ภาคกลางร้อยละ 75 

           ภาคเหนือร้อยละ 68 
           ภาคใต้ร้อยละ 67 
           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 64
ข้อดี - ข้อเสียการใช้ LINE

  • ผลดี : อาจจะสร้างความสะดวกในการสื่อสาร สามารถส่งได้ทั้งภาพและเสียง อีกทั้งประหยัดไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์  
  • ผลเสีย : ในปัจจุบันเด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ และผู้ปกครองไม่ชี้แนะ หรือควบคุมการใช้งานอย่างจริงจัง ก็จะส่งผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตโดยเฉพาะพฤติกรรมก้มหน้า สังคมก้มหน้า ซึ่งจะทำให้การสื่อสารแบบเผชิญหน้าลดน้องลง และอาจจะเป็นนิสัยที่ติดต่อต่อไป

   ในส่วนของผู้ใหญ่ก็มีผลกระทบเช่นกัน ซึ่งหากผู้ใช้อยู่ในโลกส่วนตัวมากเกินไป ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง หรือขาดความระมัดระวัง ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุหรือจราจรเพิ่มขึ้น ขณะที่ นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า แอพพลิเคชั่นไลน์ที่เด็กนิยมเล่นกันนั้น บางคนเล่นทุกวัน จนทำให้เด็กสูญเสียการใช้ชีวิตประจำวันที่ควรจะเป็น เช่นเรื่องสัมพันธภาพ การวางตัว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาการที่สำคัญของวัยรุ่น และการเล่นจนติดเป็นนิสัยนั้น จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่แข็งกระด้าง

หนทางป้องกัน - แก้ไข เด็กติด LINE

 ล่าสุดพบว่า วัยรุ่นร้อยละ 51 ตื่นมาเล่นทันที อีกร้อยละ 35 เล่นก่อนนอนทุกวัน   เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผู้ปกครองควรวางกติกาการเล่นให้กับเด็ก ทั้งกำหนดเวลาในการเล่น ไม่ให้มีการใช้โทรศัพท์ในช่วงเวลาไม่เหมาะสม


ทีมา:https://sites.google.com/site/narumolphalapol/home/